เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 หน้าหลักเว็บไซต์
  กลับหน้าหลัก

อื่น ๆ


ระเบียบการให้บริการ

ระเบียบการใช้ห้องสมุด โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
๑. ประเภทสมาชิกห้องสมุด  และสิทธิการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
๑.๑ บุคลากรของโรงพยาบาล
      ข้าราชการ                     อายุสมาชิกไม่กำหนด        ยืมได้    ๑๐ รายการ/คน ระยะเวลา  ๑๕  วัน
      ลูกจ้างประจำ                 อายุสมาชิกไม่กำหนด        ยืมได้    ๕   รายการ/คน ระยะเวลา  ๗    วัน
      พนักงานราชการ             อายุสมาชิก   ๔  ปี            ยืมได้    ๕   รายการ/คน ระยะเวลา  ๗    วัน
      พง.กระทรวงสาธารณสุข  อายุสมาชิก   ๔  ปี            ยืมได้    ๕   รายการ/คน ระยะเวลา  ๗    วัน
 
๑.๒ บุคคลภายนอก
      อาจารย์ติดตาม นศ        อายุสมาชิกช่วงที่ติดตาม นศ.  ๓  เดือน      ยืมได้    ๓  รายการ/คน  ระยะเวลา  ๗  วัน
      นศ.ฝึกงานวิชาชีพต่างๆ  อายุสมาชิกช่วงมาฝึกงาน                         ยืมได้    ๓  รายการ/คน  ระยะเวลา  ๗  วัน
      ผู้อบรมหลักสูตรต่างๆ     อายุสมาชิกช่วงที่อบรม                             ยืมได้    ๕  รายการ/คน  ระยะเวลา  ๗  วัน


๑.๓ เครือข่ายห้องสมุด
      ห้องสมุดในสังกัดกรมสุขภาพจิต    ให้ยืมผ่านบรรณารักษ์ของแต่ละห้องสมุด  ๕  รายการ/๑๕  วัน
      ห้องสมุดในจังหวัดขอนแก่น          ให้ยืมผ่านบรรณารักษ์ของแต่ละห้องสมุด  ๕  รายการ/๑๕  วัน
 
๑.๔ คนไข้และญาติ                         
      เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลคนไข้ในแต่ละตึกเป็นผู้ยืมและรับผิดชอบทุกกรณี
 
๑.๕ ประชาชนทั่วไป                        
      ยืมเพื่อถ่ายสำเนาได้  และต้องส่งคืนห้องสมุดภายในวันที่ขอยืมเท่านั้น

๒. ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อใช้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
๒.๑ แจ้งชื่อ-สกุล  หรือหัสสมาชิกทุกครั้งเมื่อใช้บริการยืม
๒.๒ ผู้ยืมเขียนชื่อ-สกุล  ให้ชัดเจนในบัตรยืม  ซึ่งอยู่ในซองประจำหนังสือ หรือตามแบบฟอร์มที่ห้องสมุด
       กำหนดไว้เท่านั้น
๒.๓ ผู้ยืมแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการยืมแก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดๆประทับตราวันกำหนดส่ง, จัดเก็บบัตรยืม 
       และบันทึกการยืมในฐานข้อมูลห้องสมุด    
๒.๔ ผู้ยืมตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้ประทับตราวันกำหนดส่ง,  และบันทึกการยืมในฐานข้อมูล
       ถูกต้องเรียบร้อยแล้วจึงนำหนังสือออกจากห้องสมุด
๒.๕ ผู้ยืมต้องนำทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปมาคืนห้องสมุดด้วยตนเองภายในระยะเวลาที่กำหนด
 
๓. ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อใช้บริการคืนทรัพยากรสารสนเทศ
๓.๑ แจ้งชื่อ-สกุล หรือรหัสสมาชิกทุกครั้งเมื่อใช้บริการคืน
๓.๒ ผู้ยืมแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปแก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดด้วยตนเองตามเวลาที่กำหนด
๓.๓ ผู้ยืมตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้ประทับตราวันที่นำมาส่งคืน,  ใส่บัตรยืมคืนตรงตามบาร์โค้ด 
      หนังสือที่ยืม, และบันทึกการส่งคืนในฐานข้อมูลถูกต้องเรียบร้อยแล้ว 
 
๔. การปรับ
๔.๑ กรณีส่งเกินเวลาที่กำหนด         
      บุคลากรของโรงพยาบาล    ปรับวันละ   ๑  บาท/รายการ
      บุคคลภายนอก                  ปรับวันละ   ๕  บาท/รายการ
      เครือข่ายห้องสมุด              ปรับวันละ   ๕  บาท/รายการ
      คนไข้และญาติ                  ปรับวันละ   ๕  บาท/รายการ
      ประชาชนทั่วไป                 ปรับวันละ   ๕  บาท/รายการ
๔.๒ กรณีทำหาย และหรือทำให้ได้รับความเสียหายแก่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ
      ปรับเป็น  ๒  เท่าของมูลค่าของทรัพยากรนั้นๆ หรือซื้อทรัพยากรสารสนเทศรายการเดียวกันมาทดแทน
      หมายเหตุ : ๒  เท่า  หมายถึงถ้าทรัพยากรมีราคา  ๑๐๐  บาท  ต้องชดใช้เป็น  ๒๐๐  บาท  
                      หรือหากทำเสียหาย  ๑  เล่มต้องหามาทดแทนให้ห้องสมุดจำนวน  ๒  เล่ม
 
๕. ข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้าใช้บริการห้องสมุด
๑. แต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบร้อยตามแบบสุภาพชน
๒. ไม่ส่งเสียงดังและปฏิบัติตนมิให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น
๓. ฝากกระเป๋า ถุง ย่าม สิ่งของอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต่อการค้นคว้าไว้ที่ชั้นรับฝากของที่ห้องสมุดจัดไว้ให้
    พร้อมนำของมีค่า  เช่น  กระเป๋าสตางค์  โน๊ตบุ๊ค  มือถือ  ติดตัวไปด้วย  หากเกิดการสูญหายทางห้องสมุด
    จะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
๔. หากนำอาหาร/เครื่องดื่มมารับประทานในห้องสมุด  ควรมีฝาปิดมิดชิดหรือมีกระดาษรองแก้วให้เรียบร้อย 
    ไม่ควรทำความสกปรกแก่ห้องสมุด
๕. ไม่ฉีก  ตัด  กรีด  หรือนำหนังสือ  เอกสาร  ออกจากห้องสมุดโดยไม่ผ่านการยืม  หรือได้รับอนุญาต
    จากเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
๖. ก่อนออกจากห้องสมุด   ต้องแสดงหนังสือหรือเอกสารและสิ่งของต่อเจ้าหน้าที่ห้องสุดก่อนทุกครั้ง
    ถ้ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัยเจ้าหน้าที่ห้องสมุดมีสิทธิ์ที่จะขอตรวจค้นได้
๗. ผู้รับบริการห้องสมุดทุกคนควรช่วยกันรักษาทรัพยากรสารสนเทศและครุภัณฑ์  มิให้ชำรุดเสียหาย
 
หมายเหตุ : ผู้รับบริการห้องสมุดที่ฝ่าฝืนทำผิดกฎระเบียบ  และข้อปฏิบัติในการใช้ห้องสมุด  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
มีอำนาจพิจารณา  ดังนี้
  • ตักเตือนด้วยวาจาหรือเชิญออกจากห้องสมุด
  • ตัดสิทธิ์การรับบริการของห้องสมุด
  • การฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อปฏิบัติขั้นร้ายแรง  ด้วยการทำลาย  เช่น  ฉีก  ตัด  กรีด  ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเสียหาย จะต้องได้รับโทษทางวินัยตามระเบียบของโรงพยาบาล
  • หากผู้รับบริการลักขโมยทรัพยากรสารสนเทศ  หรือทรัพย์ของผู้อื่นภายในห้องสมุด  จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย 

ไปยังหัวข้อบทความ  

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.