เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: ความภาคภูมิใจในตนเอง
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ07:38 3/สิงหาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว)
ความภาคภูมิใจในตนเอง
         คนเราทุกคนย่อมมีคุณค่ามนตนเอง เมื่อไรก็ตามที่คิดว่าตนเองไร้ค่า บุคคลนั้นก็ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คุณค่าหรือความภาคภูมิใจตนเองจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นมีทัศนคติหรือมีความรู้สึกว่าคนรอบข้างรัก ตนเองเป็นคนน่ารัก มีความสามารถ และรู้ว่าตนเป็นใคร เมื่อภาคภูมิใจในตนเองเราจะมองภาพตนเองในทางบวก ยอมรับนับถือตนเองและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง สามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี สามารถยอมรับได้ทั้งความผิดหวังและความสมหวังในฐานะมนุษย์ปุถุชน ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self esteem) หมายถึง ความรู้สึกต่อตนเองมีคุณค่า เช่น ความมีน้ำใจ รู้จักให้ รู้จักรับ ค้นพบและภูมิใจในความสามารถด้านต่างๆ (สังคม กีฬา ศิลปะ ฯลฯ) ของตนเอง โดยมิได้มุ่งสนใจอยู่แต่ในเรื่องรูปร่างหน้าตา เสน่ห์ ความสามารถทางเพศ หรือการเรียนเก่ง ฯลฯ เท่านั้น
คนที่ภาคภูมิใจในตนเอง จะพูดถึงตัวเองว่า
-ฉันมั่นใจในความสามารถของฉัน
-ใครๆก็รักฉัน
-ฉันมีความสุขที่ได้อยู่กับคนอื่นๆ
-ฉันภูมิใจในผลการเรียนของฉัน
-ฉันรู้ว่าควรจะพูดอะไรกับใคร
แต่เมื่อไม่ภาคภูมิใจในตนเอง ก็มักก็กล่าวถึงตนเองด้วยคำพูดที่ว่า
-ฉันต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองหลายๆอย่าง
-ฉันไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตนเอง
-ฉันมักยอมแพ้กับอุปสรรคเล็กๆน้อยๆ
-ฉันรู้สึกว่าตนเองต้อยต่ำ ไม่มีใครชอบฉันเลย
-ฉันมักเสียเสียใจกับการกระทำที่ผ่านมาของฉันเสมอ
-ฉันมักพบแต่ความล้มเหลว
-คนอื่นๆ รอบข้างทำให้ฉันรู้สึกเป็นคนไม่ดีและไม่มีค่าพอ
-ฉันไม่สามารถเป็นที่พึ่งของใครๆ
วิธีสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
คนที่ไม่ภูมิใจในตนเอง มักมองเห็นแต่ข้อด้อยของตนเอง ดังนั้นการสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองควรเริ่มต้นที่การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ได้แก่
-ค้นหาข้อดีและความถนัดของตนเอง
-ควรมองตนเองและคนอื่นในแง่ดี
-ระลึกไว้เสมอว่า ความผิดพลาด ความล้มเหลว เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า
-ให้โอกาสตนเองในการเริ่มต้นใหม่ ด้วยความอดกลั้นและอดทน เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้แก่ตนเอง
-ควรกำหนดเป้าหมายของการทำงานให้ชัดเจน ดึงศักยภาพและความสามารถของตนเอง เพื่อความสำเร็จของงานที่ตนเองชอบและสนใจ
-ควรเริ่มต้นทำงานที่ง่ายๆ และมีโอกาสสำเร็จก่อน เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และ สะสมความภูมิใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการทำงานที่ยากขึ้นตามลำดับ ในกรณีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าการทำแบบนี้จะเห็นชัดเจน ในบางครั้งเราอาจไม่ทราบว่าตัวเราเก่งหรือถนัดด้านใด ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้ตนเองได้ทดลองและเข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อค้นหาสิ่งที่ถนัด
วิธีสร้างความภูมิใจให้แก่เด็ก
เด็กสามารถสร้างความภูมิใจได้ตั้งแต่แรกเกิด-6ขวบ โดยที่เด็กจะมีความเชื่อเกี่ยวกับคุณค่าในตนเอง จากการรับรู้ต่อสิ่งที่ตอบสนองรอบๆตัวเขา ดังนั้นพ่อแม่และครูมีส่วนส่งเสริมการสร้างความภูมิใจให้แก่เด็กๆได้ดังนี้
การให้ความนับถือตนเอง
เริ่มด้วยการที่พ่อแม่มีความภาคภูมิใจในตนเองก่อน รู้สึกชื่นชม ให้คุณค่าและยอมรับนับถือในตนเอง ซึ่งความนับถืออันนี้จะเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกๆ จะได้สร้างความนับถือตนเองด้วย
วิธีการสร้างความนับถือตนเอง ได้แก่
-ยอมรับลูกในแบบที่เขาเป็น พ่อแม่ส่วนมากต้องการลูกเรียนเก่ง แต่ก็ควรยอมรับถ้าลูกเรียนไม่เก่ง แต่เล่นดนตรี หรือวาดเขียนเก่ง
-เชื่อมั่นในความสามารถของลูกและแสดงให้เขาเห็น
-ยอมรับข้อแตกต่างในแต่ละบุคคล เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถในการปรับตัวแตกต่างกัน เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่งเด็กบางคนดูเหมือนจะไม่สู้ในตอนต้นจะต้องใช้เวลาสักครู่จึงสามารถแก้ปัญหาได้ แม่ว่าเด็กจะใช้วิธีไม่เหมาะสมและไม่มีเหตุผลในสายตาผู้ใหญ่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่มีความสามารถในการปรับตัว
-ให้ความสนใจกับความรู้สึกของเด็กถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยโดยสอนให้เด็กสนใจความรู้สึกของคนอื่นๆด้วย เพราะเด็กเล็กมักเอาแต่ใจตนเอง
-สอนให้เด็กรับรู้ว่าความผิดพลาดไม่ใช่สิ่งน่าอาย และผู้ใหญ่ควรกล่าวขอโทษเมื่อทำผิดเพื่อเป็นแบบอย่าง
การให้กำลังใจ
พ่อแม่และครูที่ให้กำลังใจแก่เด็ก จะช่วยให้เด็กพัฒนาทัศนคติ ความเชื่อที่ดีต่อตนเองได้ เช่น
-ยอมรับและให้คุณค่าในตัวเด็ก เด็กแต่ละคนมีความสามารถ มีความสนใจ มีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ซึ่งความสนใจจะเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับอารมณ์และอายุของเด็ก
-ชื่นชมในความพยายามและความตั้งใจของเด็ก ไม่ใช่ผลสำเร็จของงาน ชมเชยเด็กแม้ว่ามรความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยก็ตาม
-ชื่นชมเมื่อเด็กแสดงความเข้มแข็ง และความสามารถด้านอื่น เช่น
“น้องแตมน่ารักมากที่หนูแบ่งของเล่นให้น้องแป้ง”
-หมั่นให้กำลังใจแก่เด็ก
-แสดงความสนใจในสิ่งที่เด็กสนใจ ไม่ใช่เพียงแต่สิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าสำคัญ
-สนับสนุนให้เด็กตัดสินใจด้วยตนเอง มอบหมายงานให้เด็กช่วยทำ และสอนเด็กให้ทราบว่าเขาไม่จำเป็นต้องทำเพื่อเอาอกเอาใจผู้อื่นเพียงอย่างเดียว
-เสนอแนะวิธีการที่สร้างสรรค์และทางเลือกอื่นๆ ในการแก้ปัญหาให้แก่เด็ก
พ่อแม่ควรสนับสนุนด้านต่างๆ ดังนี้
-เปิดโอกาสและสอนให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ตั้งแต่เด็กเล็ก เช่น ตักข้าวกินเอง อาบน้ำและแต่งตัวเอง เป็นต้น เพราะจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าเขาทำได้
-เปิดโอกาสและสอนให้เด็กได้มีประสบการณ์ เรียนรู้ และค้นหาความสามารถของตนเองในกิจกรรมหลายๆอย่าง เช่น อนุญาตให้เด็กเล่นของเล่น เล่นกับเพื่อนๆ
-ให้เด็กได้ตัดสินและประเมินความก้าวหน้าด้วยตนเอง มากกว่าการยืนยันจากคนรอบข้าง
-ติดตามความสนใจของเด็ก เช่น ภ้าลูกชอบช้าง อาจหาหนังสือเรื่องช้างมาให้ลูกอ่าน เล่าเรื่อง”ช้าง”ให้ลูกฟัง
-หาโอกาสให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาตินอกสถานที่ เช่น พาเด็กเที่ยวสวนสัตว์ ภูเขา น้ำตก ฯลฯ
การบอกรักลูก
พ่อแม่บางท่านรักลูก แต่ไม่เคยบอกรักลูก การบอกรักลูกอย่างตรงไปตรงมา “พ่อแม่รักลูก” จะทำให้ลูกรู้สึกดี ร่วมกับการแสดงความรักโดยการโอบกอด สัมผัส ให้เวลากับลูกๆ เป็นเวลาพิเศษของครอบครัวและให้ลูกเป็นคนเลือกกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน ให้ความสนใจกับกิจกรรมที่มีความสุขร่วมกัน ควรทำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกรู้คุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.