|
ข่าว: ทักษะการเลี้ยงดูเด็ก
โดย
อชิร ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร เมื่อ07:49 14/สิงหาคม/2563 (4 ปี 10 เดือนที่แล้ว) |
ทักษะการเลี้ยงดูเด็ก
การเลี้ยงดู เป็นการกระตุ้นและตอบสนองระหว่างพ่อแม่กับเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ที่ดี นอกเหนือจากการดูแลเอาใจใส่แล้วพ่อแม่ยังมีหน้าที่ขัดเกลาให้ลูกเป็นคนดี กล่าวกันว่าพ่อแม่เป็นครูคนแรกในการอบรมบ่มนิสัยลูก เพื่อนำไปสู่พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การอบรมเลี้ยงดูจึงเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกับเด็ก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเกือบตลอดเวลา
พ่อแม่ทุกคนต้องการให้ลูกประพฤติตัวดีและทำตัวน่ารัก บางครั้งเมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมและไม่ถูกใจผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองอาจมีปัญหาไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร เราพบว่าพฤติกรรมทั้งที่ดีและไม่ดีสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการให้รางวัล การชมเชย ในทางกลับกันการให้รางวัลโดยไม่ตั้งใจอาจเพิ่มพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างได้ การใช้วิธีเพิกเฉยและลงโทษจะทำให้พฤติกรรมที่ไม่ดีหมดไป ผู้ใหญ่สามารถใช้วิธีการต่างๆเพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กได้ดังนี้ คือ
1.การใช้เหตุผล (Reasoning)
การใช้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมา ทำให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตามได้ ในเด็กเล็กควรพูดง่ายๆ สั้นๆ
2.การใช้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง (Firmneess)
เมื่ออผู้ใหญ่บอกให้เด็กทำอะไรแล้วเด็กยังอิดออดไม่ยอมทำในทันทีขอผลัดผ่อนไปเรื่อยๆ วิธีที่จะได้ผลคือ ใช้คำสั่งด้วยท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง เช่น “ลูกทำการบ้านเดี๋ยวนี้” ถ้าลูกยังอิดออด นั่งเฉยและโต้กลับไปว่า “เดี๋ยวก่อน” เมื่อแม่เตือนอีกครั้งยังนิ่งเฉย แม่จำเป็นจะต้องเดินไปจูงมือลูกไปหยิบสมุดการบ้าน และพูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่น “ลูกหยิบสมุดมาทำการบ้านเดี๋ยวนี้” และนั่งเฝ้าถ้าจำเป็น
การใช้คำสั่งจะให้ได้ผลดี พ่อแม่ควรมีท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง ควรเรียกชื่อเด็ก หันหน้าไปที่เด็ก บอกให้เด็กทำอะไรด้วย คำพูด(คำสั่ง) ที่สั้นง่ายและชัดเจนด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น เช่น ควรใช้คำพูด “นกเก็บของเล่นไว้ที่ชั้นของเล่น” แต่ไม่ควรใช้คำสั่ง “ทำไมลูกไม่เก็บของเล่น”
3.การใช้สิ่งทดแทน (Alternative response)
ในเด็กเล็กๆ เมื่อห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งใดสิ่งหนึง่ควรมีสิ่งอื่นให้เด็กทำทดแทน หรือเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กไปเล่นหรือทำกิจกรรมที่น่าสนใจกว่า เช่น เด็กจะเอามือแหย่ปลั๊กไฟเราอาจอุ้มเด็กไปเล่นในสนาม เป็นต้น
4.ให้เด็กแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก (Freedom to discuss ideas & feelings)
พ่อแม่จะต้องเป็นผู้รับฟังที่ดี ยอมรับและเคารภพในความรู้สึของเด็ก สื่อให้เด็กรู้ว่าพ่อแม่รับฟังเขาอยู่ ถ้าเป็นไปได้สอนให้เด็กรู้จักคำที่ใช้บอกความรู้สึกด้วย
5.ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี (Positive models)
พ่อแม่ที่ไม่ต้องการให้เด็กพูดคำหยาบ พ่อแม่ก็ไม่ควรพูดคำหยาบให้เด็กได้ยินบ่อยๆ
6.การให้รางวัล และคำชมเชย (Positive reinforcerment)
ถ้าเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมพ่อแม่ควรชมเชยและให้รางวัลแก่เด็ก อาจพูดชม ให้ความสนใจและโอบกอด บางครั้งผู้ใหญ่มักละเลยไม่ชื่นชมเมื่อเด็กพยายามทำความดี เกรงว่าลูกจะเหลิง แต่ก็ไม่ควรชมเด็กจนพร่ำเพรื่อและเกินจริง ควรชมเชยและให้รางวัลทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสม การให้รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นของชิ้นใหญ่ที่มีราคาแพง ให้เด็กเริ่มแรกอาจให้รางวัลเป็นขนม ต่อมาควรเปลี่ยนเป็นคำชมเชยและการโอบกอด แล้วจึงค่อยๆ ลดรางวัลลง จนกระทั่งเกิดคุณค่าในตนเองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลหรือสิ่งตอบแทน
เด็กได้เรียนรู้ในการเดิน การพูด การช่วยเหลือตนเอง แบ่งปันของเล่น ช่วยเหลืองานบ้าน ฯลฯ เพราะเขาได้รับความสนใจและได้รางวัลบางอย่างจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ รางวัลที่ให้อาจเป็น สิ่งของ กิจกรรม และรางวัลทางสังคม ดังเช่น รางวัลทางสังคม กิจกรรม สิ่งของรางวัล ยิ้ม เล่นกับแม่ ไอศครีม กอดรัด ไปเที่ยวนอกบ้าน เงิน สนใจ ดูทีวี ดินสอสวยๆ รางวัลทางสังคม กิจกรรม สิ่งของรางวัล ตบมือ เล่นเกม ขนม สัมผัส เล่นกับเพื่อน ดินสอ ยกย่อง/ชมเชย ไปสวนสนุก ของเล่น
7.การเลิกให้ความสนใจ (Ignoring)
|
|