เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: เด็กก้าวร้าว
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ07:34 10/สิงหาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว)
เด็กก้าวร้าว
          คุณแม่พาน้องโอ๊ตมาหาหมอเพราะน้องโอ๊คแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว น้องโอ๊ตชอบเล่นแรงๆ ตั้งแต่เล็กๆ ระยะหลังเวลาไม่ได้ดังใจก็จะอาละวาด ตะโกนส่งเสียงดัง พูดคำหยาบ ชอบด่าทอ บางครั้งเวลาโกรธจะทุบตีแม่ ดึงผมและกัดแขนด้วย น้องโอ๊ตทำเฉพาะแม่กับยาย แต่ไม่กล้าทำกับพ่อ พ่อแม่เล่าว่าน้องโอ๊ตเป็นเด็กเลี้ยงยากมาตั้งแต่เด็ก ตอนเล็กๆ จะร้องกวนมากในตอนเย็นเกือบทุกวัน และดีขึ้นหลังอายุ 4 เดือน พออายุ 1 ขวบครึ่งเป็นไข้หวัดแล้วชัก หลังจากนั้นน้องโอ๊ตก็ชักอีกครั้ง ทุกคนในบ้านกลัวว่าเด็กจะชักอีกจึงเลี้ยงดูอย่างตามใจ น้องโอ๊ตต้องการอะไรพ่อแม่และยายจะหามาให้ บางครั้งเวลาพาไปหาหมอหรือจะให้น้องโอ๊ตทำอะไรก็ต้องต่อรองด้วยของเล่น ถ้าขออะไรไม่ได้น้องโอ๊ตจะทำฤทธิ์เดช ขว้างปาข้าวของ ระยะหลังเป็นมากขึ้น ตบหน้าแม่ ตีและกัดแขนยาย พูดคำหยาบ พ่อแม่จึงพาไปปรึกษาหมอเด็ก
สาเหตุของเด็กก้าวร้าวมีดังนี้
1.สาเหตุทางชีวภาพ เราพบว่เด็กป่วยเป็นโรคทางสมอง เช่น สมองอักเสบ ลมชัก สมาธิสั้น บางคนจะมีอาการก้าวร้าวและขาดความยับยั้งชั่งใจ
2.พื้นฐานอารมณ์ เด็กบางคนจะมีอารมณ์รุนแรงตั้งแต่เด็ก เมื่อพบสิ่งแปลกใหม่ก็จะตอบสนองทางอารมณ์อย่างรุนแรง ชอบเล่นเสียงดังและเอะอะโวยวาย
3.สภาพจิตใจขณะนั้น เช่นเวลาที่เด็กเหน็ดเหนื่อย หิว ง่วงนอน หรือถูกปลุกหลังนอนหลับใหม่ๆ เด็กจะหงุดหงิด พูดจาไม่รู้เรื่อง อาละวาดเสียงดังและแสดงอาการก้าวร้าวอื่นๆได้
4.ขั้นตอนพัฒนาการ ในขวบปีที่ 2-3 เด็กเริ่มทำอะไรได้ด้วยตนเอง จึงต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมและต้องการทำอะไรเอง ซึ่งในสายตาผู้ใหญ่แล้วจะเห็นว่าเป็นอันตราย เช่น ปีนป่ายที่สูง เอามือแหย่ปลั๊กไฟ หรือแหย่พัดลม เล่นของมีคม เล่นเครื่องแก้ว ฯลฯ เมื่อถูกผู้ใหญ่ห้ามปรามเด็กจะโกรธและแสดงออกด้วยคำพูดหยาลคาย หรือก้าวร้าว ขว้างปาสิ่งของ หรือทุบตีคนอื่น วิธีแก้ไข พ่อแม่ควรเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จึงควรเริ่มให้เด็กช่วยเหลือตนเอง ฝึกหัดทำอะไรด้วยตนเองง่ายๆ พ่อแม่ควรจัดสถานที่ๆ ปลอดภัยให้เด็กเล่น ได้สำรวจเพื่อการเรียนรู้ พ่อแม่จะต้องเก็บเครื่องแก้วและของมีคนในตู้ให้มิดชิด เด็กเอื้อมไปหยิบไม่ถึง ปิดปลั๊กไฟด้วยแผ่นพลาสติก ถอดปลั๊กพัดลมหลังฃจากเลิกใช้ และไม่ควรห้ามปราม/ใช้คำสั่งว่า “อย่า” บ่อยๆ แต่ควรใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจไปยังสิ่งที่เด็กชอบก่อนที่เด็กจะโกรธ
5.ครอบครัวและการเลี้ยงดู
เลี้ยงอย่างตามใจมากเกินไป พ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กอย่างตามใจจะทำให้เด็กเคยตัว เอาอะไรจะต้องเอาให้ได้ ถ้าถูกขัดใจและไม่ได้ตามที่ต้องการก็จะอาละวาดทุบตี จนติดเป็นนิสัย เลี้ยงแบบไม่เสมอต้นเสมอปลาย บางครอบครัวไม่ค่อยมีเวลาให้เด็กมากนัก เมื่อเด็กขอของเล่นหรือของกิน พ่อแม่ก็จะให้เกือบทุกครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่พ่อแม่ยุ่งๆ หรือมีแขก พ่แม่มักจะให้เพื่อตัดความรำคาญ แต่เมื่อรู้สึกว่าเด็กขอมากเกินไปจึงไม่ยอมให้อีก เมื่อเด็กรบเร้าก็จะถูกตีโดยที่พ่อแม่ไม่ได้สื่อความหมายที่ชัดเจน เด็กจึงสับสนว่าเรื่องเดียวกัน บางครั้งพ่อแม่ก็ยอม บางครั้งก็ไม่ยอม จึงแสดงความก้าวร้าวเวลาไม่ได้ดังใจ เลี้ยงดูแบบยั่วยุอารมณ์เด็ก ผู้ใหญ่บางคนชอบยั่วยุให้เด็กโกรธหรือทำในสิ่งที่เด็ฏไม่ชอบ เช่ย ชอบเข้าไปกอดจูบเด็ก แกล้งให้เด็กโกรธ การลงโทษเด็กที่รุนแรง ครอบครัวที่ไม่สงบสุข พ่อแม่ที่ทะเลาะกันอย่างรุนแรงบ่อยๆ เช่น พ่อทุบตีแม่ ทำลายข้าวของ หรือพ่อแม่ลงโทษเฆี่ยนตีเด็กโดยไม่มีเหตุผล เด็จอาจเลียนแบบความก้าวร้าวเหล่านี้จากพ่อแม่ได้
6.เลียนแบบความรุนแรงจากสื่อ เด็กเล็กวัยอนุบาลจะเลียนแบบความก้าวร้าวรุนแรงจากหนังสือ ทีวี วีดีโอ ได้บ่อยๆ เราจะเห็นเด็กวัยนี้แสดงท่าทางเลียนแบบการ์ตูนในทีวีบ่อยๆ
การแก้ไข
1.ไม่ยั่วยุให้เด็กโกรธ ผู้ใหญ่ควรเข้าใจพัฒนาการเด็ก เด็กอายุ 1-2 ขวบเป็นวัยที่ชอบสำรวจตรวจตรา ไม่ควรใช้คำว่า “อย่า” บ่อยๆ แต่ควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้เรียบร้อย และอาจใช้วิธีเบี่ยงเบนนตวามสนใจไปทำกิจกรรมที่น่าสนใจกว่า ก่อนที่เด็กจะมีอารมณ์โกรธ ไม่ควรทำสิ่งที่เด็กไม่ชอบ เพื่อความสนุกสนานของผู้ใหญ่
2.กรณีเด็กก้าวร้าว ทำของเสียหาย ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ควรหยุดพฤติกรรมนั้นทันที โดยจับมือหรือรวบตัวเด็กไว้ และบอกเด็กสั้นๆว่า เขาทำอย่างนั้นไม่ได้ เขาตีแม่และตบหน้ายายไม่ได้ ถ้าขว้างปาข้าวของก็ให้ไปเก็บของและบอกสั้นๆว่า ...........................................


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.