เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: ชวนพี่มาช่วยดูแลน้อง
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ07:38 6/สิงหาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว)
ชวนพี่มาช่วยดูแลน้อง
          โลกจะสดใสถ้าพ่อแม่กลับเข้าบ้านแล้วได้ยินเสียงลูกหัวเราะต่อกระซิกกัน เล่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน เห็นพี่จูงมือน้องเดินบนถนนหน้าบ้าน หรือเห็นพี่ช่วยป้อนช้าวน้องและชวนน้องเล่น เป็ยต้น แต่ในความเป็นจริงจะพบอยู่เสมอๆ ว่า บรรยากาศในบ้านจะเป็นเสียงร้องไห้และเสียงดังโวยวายเวลาพี่น้องทะเลาะกันมากกว่า พี่แกล้งน้อง น้องแกล้งพี่ มีให้เห็นเกือบตลอด
ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องเปลี่ยนแปลงได้ทุกชั่วโมง โดยเฉพาะเวลาเล่นเกมแข่งขันเราจะเห็นพี่น้องทะเลาะกันบ่อยๆ หรือแม้แต่ที่แม่เห็นว่าพี่น้องคู่นี้เล่นด้วยกันได้นานๆ อีกสักครู่น้องอาจกลับมาฟ้องแม่ว่า “ไม่ชอบพี่ต้นเลย พี่ต้นแกล้ง” พ่อแม่อาจต้องยอมรับและเข้าใจว่าพี่น้องอิจฉากันเป็นเรื่องธรรมดา เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนเป็นความรู้สึกอย่างอื่นในนทางสร้างสรรค์ได้ ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคต โดยวิธีการต่างๆ และการเตรียมเด็กดังนี้

1.การเตรียมตัวสำหรับมีน้องใหม่ลูกคนแรกไม่เคยถูกแบ่งปันความรักและความสนใจที่เคยได้รับให้กับน้องคนอื่นเลย ดังนั้นการเตรียมตังสำหรับการมีน้องใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นการยากที่จะอธิบายให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบเข้าใจว่าเขาจะมีน้อง เมื่อเด็กโตพอที่จะเข้าใจอาจพูดคุยว่า “ลูกเกิดมาจากไหน เกิดมาอย่างไรและลูกกำลังจะมีน้องในท้อิงแม่อีกคน” ให้เขาได้มีส่วนร่วมมีเจ้าของ อาจให้ฟังเสียงน้องดิ้น ฯลฯ ถ้าพ่อแม่ต้องการย้ายห้องนอนของพี่ ควรย้ายก่อนคลอดน้องหลายๆเดือน ด้วยเหตุผลว่าเขาโตแล้ว ไม่ใช่เพื่อให้น้อง ถ้าพี่โตพอที่จะเข้าเนอเซอรี่ได้แล้วก็ควรจะเตรียมตัวล่วงหน้า 2.3 เดือน ก่อนคลอดน้อง เพราะพี่จำเป็นต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน
2.พาน้องกลับบ้าน
การเตรียมตัวออกจากโรงพยาบาล แม่อาจรู้สึกเหนื่อยล้าและกังวลใจหลังคลอด พ่ออาจมีส่วนช่วยดูแลลูกบ้าง โดยเฉพาะลูกคนโต ในสัปดาห์แรกหลังคลอดจะมีคนแวะมาเยี่ยมเยียนน้องและเอาของขวัญมาเยี่ยมมากมาย ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรตื่นเต้น เห่อและพูดถึงลูกคนเล็กอย่างมากจนลืมลูกคนโต เวลาที่น้องนอนหลับแม่อาจใช้เวลานี้พูดคุย กอดจูบ และเล่นกับพี่บ้าง แต่ถ้าเด็กกำลังเล่นเพลินๆ ก็ไม่ควรดึงเขามาตรงรี่ไปยังน้องคนเล็กทันที อาจนั่งพักสักครู่และเล่นกับพี่บ้าง เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้พี่รู้สึกดีขึ้น และเมื่อให้ของขวัญแก่น้องก็ควรจะมีของขวัญชิ้นเล็กๆให้พี่ด้วย
3.ช่วยให้พี่โตขึ้น
เมื่อแม่พาน้องกลับบ้านบางครั้งพี่ก็อยากกลับเป็นเด็กอีกครั้ง ซึ่งเป็นปกติและจะเป็นช่วงสั้นๆ พี่อาจจะอยากดูดขวดนมหลังจากเลิกดูดขวดมานานแล้ว อาจจะปัสสาสะรดกางเกง ออดอ้อนอยากให้แม่อุ้มมากขึ้น อยากให้แม่อาบน้ำแต่งตัวให้อีก ทั้งที่เคยทำได้เองและพูดแบบเด็กเล็กๆ แม่อาจรู้สึกขำที่ลูกอยากเป็นเด็กทารกอีก พ่อแม่ช่วยให้ดีขึ้นได้โดยบอกพี่ว่าเด็กเล็กทำอะไรไม่ได้ตั้งหลายอย่าง พี่ตัวโต แข็งแรงและเก่งกว่า สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เขาต้องการได้ สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ แม่ภูมิใจที่หนูเป็นเด็กเก่ง พี่โตแล้วไม่ต้องอุ้ม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาโตพอที่จะรับผิดชอบทุกอย่าง หรือจะต้องเสียสละให้น้องทุกอย่าง พี่ยังต้องการความรักความสนใจเช่นกัน พ่อแม่อาจยอมให้พี่เป็นเด็กเล็กบ้าง แสดงท่าทางเอ็นดู เพราะการกลับมาเป็นเด็กเล็กอีกครั้งทำมห้พี่รู้สึกพอใจได้ชั่วคราว และที่สำคัญ ต้องแสดงความรักให้เด็กเห็น
4.เปลี่ยนความอิจฉาเป็นความช่วยเหลือ
พี่ไม่ได้เป็นเด็กเล็กอีกแล้ว สามารถทำอะไรได้หลายอย่างเพราะฉะนั้นเขาจะเป็นผู้ช่วยที่ดีของแม่ได้ อย่าพยายามกันให้เขาออกไปอยู่คนเดียว อาจให้พี่ช่วยหยิบผ้าอ้อม หยิบขวดน้ำ ขวดนม หยิบผ้าเช็ดตัวให้เวลาแม่อาบน้ำน้อง ถ้าน้องโตพอก็อาจให้พี่ช่วยป้อนข้าว อาบน้ำ ช่วยแต่งตัวหรือปลอบโยนเวลาน้องร้องไห้ และเล่นกับน้องบ้าง พ่อแม่จะต้องแนะนำพี่ว่าจะทำอย่างไร แสดงความชื่นชมและชมเชยเมื่อพี่เชื่อน้อง แม้บางครั้งแม่อาจต้องแอบดูเวลาที่พี่อยู่กับน้องสองคน แต่ไม่ควรแปลการกระทำของพี่เป็นเจตนาร้ายทุกครั้งที่ทำไม่ถูกต้อง ถ้าพี่อยากอุ้มน้องแต่พ่อแม่กลัวว่าน้องจะหล่น พ่อแม่จะช่วยพี่ให้อุ้มน้องได้ในที่ๆ ปลอดภัย เช่น บนเตียง บนพื่นพรม เก้าอี้โซฟาตัวใหญ่ๆซึ่งไม่เป็นอันตราย การกระทำเหล่านี้จะเปลี่ยนความรู้สึกขุ่นเคืองใจมาเป็นการช่วยเหลือน้องอย่างเต็มใจ
5.วิธีจัดการกับความอิจฉา
พี่น้องอิจฉากันเป็นเรื่องธรรมดา พี่อาจพูดกับแม่ว่า “ไม่อยากได้น้อง” “แม่เอาน้องไปคืน/ทิ้งโรงพยาบาล” บางครั้งอาจพูดรุนแรงว่า “อยากให้น้องตาย” หรืออาจเล่นรุนแรงให้น้องบาดเจ็บ กอดน้องแรงๆ หยิกเตะต่อยน้อย หรือบางครั้งพี่อาจแสดงออกในรูปการติดแม่อ้อนแม่มากขึ้น เดินตามเกาะชายกระโปรงแม่ และพึ่งพาแม่ตลอดเวลา ดูดนิ้ว พูดอ้อน มีพฤติกรรมถดถอยแบบเด็กเล็กอีกครั้ง จะเป็นการฉลาดถ้าแม่จะสรุปว่ามีทั้งรักและอิจฉา แม่ไม่ควรห้ามปรามไม่ให้พี่อิจฉาน้อง ตำหนิหรือกล่าวโทษ คอยระแวงสงสัยว่าพี่จะแกล้งน้อง เพราะพี่จะเก็บกดและรู้สึกละอายใจ แม่ไม่ควรเพิดเฉยความรู้สึกอิจฉานี้ แต่ควรช่วยให้พี่รักน้องแทนความรู้สึกอิจฉา โดยปกติเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ จะอิจฉารุนแรงกว่าเด็กโตเพราะยังต้องพึ่งพาพ่อแม่และมีสิ่งที่น่าสนใจภายนอกเพียงเล็กน้อย แต่ในเด็กโตก็อาจอิจฉาได้รุนแรงเช่นกัน
วิธีจัดการ
5.1ไม่แสดงปฏิกิริยารุนแรงกับพี่ ถ้าพี่ตีน้อง รังแกน้องแล้วพ่อแม่แสดงปฏิกิริยารุนแรงโต้ตอบพี่ จะทำให้พี่รู้สึกละอายใจ เพราะเขาไม่ชอบน้องที่มาแย่งความรักความสนใจจากพ่อแม่ ถ้าพี่รู้สึกคุกคามพี่ก็จะรู้สึกกังวลและโกรธอยู่ในใจ และจะเก็บกดความรู้สึกนั้นทำให้พี่อิจฉารุนแรงยิ่งขึ้น และอาจต้องใช้เวลานานในการที่จะทำให้พี่เปิดเผยความรู้สึกนี้ออกมาและจะทำให้พี่อิจฉาน้องรุนแรงขึ้น
5.2 บอกพี่ใหชัดเจน แม่จะต้องบอกพี่ให้ชัดเจนว่าทำอะไรได้และทำอะไรไม่ได้ เช่นแม่ไม่อนุญาตให้พี่ตีน้อง/ผลักน้องหรือทำรุนแรงกับน้อง ถ้าน้องทำผิดให้พี่มาบอกแม่แล้วแม่จะลงโทษน้องเอง
5.3เบนความสนใจของพี่ ถ้าแม่เห็นพี่ถืออาวุธ ของเล่นบางชนิด เช่น ดาบ ปืน จะไปทำร้ายน้อง พ่อแม่ควรเข้าไปกอดเขาไว้ แล้วพูดว่า “หนูอยากเล่นกับน้อง และหนูคงไม่อยากให้น้องเจ็บหรอกนะ” “มาเล่นอย่างนี้ดีกว่า” แล้วเบนความสนใจให้พวกเขามาเล่นของเล่นอย่างอื่นที่ดูไม่อันตราย แม่อาจเล่นกับพวกเขาด้วยก็ได้ พ่อแม่จะต้องพูดและแสดงให้พี่รู้ว่าพ่อแม่ยังรักเขาอยู่ แต่ถ้าพ่อแม่ห้าม และพูดตำหริพี่บ่อยๆ “หนูอย่าไปตีน้องนะ” ถ้าหนูตีน้องแม่ก็จะตีหนูทันที ก็จะทำให้พี่โกรธ หัวเสียและรู้สึกผิดได้
5.4 อนุญาติให้น้องเล่นของเล่น หลายๆครั้งที่พี่หวงของเล่นที่พี่ไม่ใช้แล้ว แต่เมื่อน้องหยิบขึ้นมาเล่นพี่จะโวยวายและแย่งกลับทันทีจึงทำให้พ่อแม่กังวลและจะพยายามทำทุกอย่างที่จะไม่ให้พี่น้องทะเลาะกัน เวลาที่พ่อแม่ดุและตำหนิพี่จะทำให้พี่รู้สึกไม่มั่นใจ ละอายใจ และไม่สบายใจเพราะทำให้แม่ลำบากใจ พ่อแม่อาจช่วยให้พี่มั่นใจ ใจกว้าง แบ่งปันของเล่นให้น้องเล่น โดยการพูดคุยกับพี่ว่า “ของเล่นก็ยังเป็นของพี่อยู่และน้องเล่น หรือแม่อาจเอาของเล่นชิ้นนั้นมาเล่นด้วยกัน
5.5 แม่ไม่ควรไปเข้าแทรกทุกครั้ง พี่น้องที่เล่นด้วยกันมักมีเรื่องทะเลาะกันเป็นธรรมดา แต่ถ้าพ่อแม่เข้าไปแทรกแซงทุกครั้ง จะทำให้พี่/น้อง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่ยุติธรรม พ่อแม่เข้าข้างอีกฝ่าย เมื่อเด็กรู้สึกเช่นนี้ เด็กมักโต้แย้งและไม่ฟังคำสั่งหรือคำเตือนของพ่อแม่คิดแต่เพียงจะทำอย่างไรดี บางคนจะโต้แย้งหรือเปลี่ยนเรื่อง แต่บางคนจะเงียบและโกรธในใจ หรือไม่ก็ประณีประนอม เด็กๆ ควรเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาของเขาเอง พ่อแม่ควรตัดสินปัญหาด้วยความยุติธรรม และต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเด็กด้วย ถ้าเด็กทะเลาะรุนแรงและเป็นอันตรายอาจต้องแยกเด็กออกจากกันหรือไม่ก็เก็บของเล่นที่เป็นชนวนให้เด็กทะเลาะกันไว้ไม่ให้ทั้งคู่เล่นต่อ
5.6 อธิบายให้พี่เข้าใจ ถ้าน้องยังเล็กอายุเพียง 2 ขวบ จะต้องอธิบายให้พี่เข้าใจว่า “แม่ยุ่งๆ อยู่กับน้องเพราะน้องต้องการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด” เด็กเล็กยังทำอะไรเองไม่ได้ แม่จะต้องป้อนข้าว แต่งตัวให้ เหมือนตอนที่พี่ยังเล็กๆ เพื่อว่าพี่จะได้ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง และแม่ไม่ควรรู้สึกผิด ถ้าพี่ จะต่อว่าพ่อแม่ว่า “ไม่ยุติธรรม” “แม่รักแต่น้อง” แม่ควรปลีกเวลาทำกิจกรรมพิเศษกับพี่บ้าง
6.สอนให้เด็กอดทน ใจกว้างกับน้อง
พ่อแม่ควรสอนให้เด็กอดทน พึ่งตนเอง และใจกว้าง ถ้าเด็กพอใจกับความรัก ความอบอุ่นที่ได้รับ ไม่มีเหตุผลอะไรที่เด็กจะต้องดึงความสนใจจากพี่หรือน้อง ควรให้ความมั่นใจว่าพ่อแม่รักและเข้าใจพวกเขา


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.