|
ข่าว: ความรัก-ความผูกพัน
โดย
อชิร ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร เมื่อ07:47 4/สิงหาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว) |
ความรัก-ความผูกพัน
แม่มีความสำคัญต่อลูกอย่างมาก เมื่อแม่ปราถนาที่จะให้ลูกเกิดมา แม่ก็ปราถนาให้ลูกมีชีวิตรอดปลอดภัยมีความสมบูรณ์ทั้งกาย-ใจ เมื่อลูกลืมตาดูโลก แม่-ลูกจะสร้างสายสัมพันธ์ต่อกันที่เรียกว่า Attachment เป็นความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างแม่/ผู้เลี้ยงดูกับลูก เพื่อลูกจะได้รู้สึกปลอดภัย และรับรู้ถึงความห่วงใยและการดูแลเอาใจใส่
ความผูกพัน (attachment) เป็นสายใยแห่งรักที่แท้จริงระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดูซึ่งโดยมากมักจะเป็นแม่ เด็กจะสร้างความผูกพันนั้นอาจไม่ลึกซึ้งเท่าความผูกพันที่สร้างขึ้นในช่วงแรกๆของชีวิต การกระทำที่แสดงถึงความผูกพันนั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เด็กๆต้องการอยู่ใกล้ชิดแม่เพื่อจะได้รู้สึกปลอดภัย เขาสามารถแสวงหาของเล่น และความเพลิดเพลินอื่นๆ ได้เมื่อเขารู้สึกว่าแม่อยู่ใกล้ๆ แต่เมื่อเขารู้สึกไม่ปลอดภัย กลัว ไม่มั่นใจ ไม่สบายกาย-ใจ เขาจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา เช่น กรีดร้อง แตะหรือขืนตัว อยากอยู่ใกล้ชิดแม่ อยากเห็นหน้าแม่และอยากคลอเคลียแม่ เขาจะรู้สึกอบอุ่น และหยุดร้องเมื่อได้ยินเสียงแม่หรือได้เห็นหน้าแม่
พฤติกรรมที่แสดงถึงความผูกพันจะลดน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นกลายเป็นความรู้สึกผูกพันที่เก็บใจในใจตลอดไป ถึงแม้ว่าบางเวลาการแสดงออกถึงความผูกพันจะน้อยลงหรือขาดหายไปบ้างก็ตาม เช่น เมื่อมีแฟน แต่งงานมีครอบครัวที่ต้องมีภาระหน้าที่ต่อครอบครัวใหม่ อีกทั้งรูปแบบการแสดงออกของความผูกพันอาจเปลี่ยนแปลงไป เด็กเล็กเวลาที่แม่กลับมาจากธุระนอกบ้าน เขาจะแสดงอาการดีใจ โผเข้าหา เข้ามาคลอเคลีย และจะร้องกรื๊ดเมื่อถูกทอดทิ้ง เมื่อวัยรุ่นเริ่มมีแฟน ก็จะสร้างความผูกพันแบบแฟนหรือคู่รักเป็นความผูกพันที่เกิดขึ้นมาใหม่ เมื่อผิดหวังหรืออกหักก็จะหวลคิดถึงแม่ แม้ว่าคนเราจะอายุมากขึ้น และห่างเหินขาดจากการติดต่อกับพ่อแม่มานานก็ตามแต่ใจก็ยังผูกพันอยู่
ความผูกพัน มีลักษณะเด่น 7 ประการ คือ
1.มีรูปแบบเฉพาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เด็กจะสร้างความผูกพันกับแม่เป็นอันดับแรก แต่ถ้าแม่เสียชีวิตหรือไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ เด็กก็จะสร้างความผูกพันกับผู้เลี้ยงดูคนอื่น เช่น ยาย ป้า น้า หรือพี่เลี้ยง ฯลฯ และความผูกพันจะมีลำดับความสำคัญที่ลดหลั่นกันไปตามความใกล้ชิดและรูปแบบการเลี้ยงดู เด็กจะมีความผูกพันกับแม่มากที่สุด รองลงมาเป็นผู้ใกล้ชิดลำดับต่อไป
2.ระยะเวลา
ความผูกพันจะเกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไป ช่วงวัยรุ่นความผูกพันแบบวัยเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดอีกครั้งหนึ่ง พฤติกรรมการแสดงออกจะคล้ายๆ ในวัยเด็ก เมื่อวัยรุ่นรักใครชอบใคร ก็อยากพบอยากพูดคุยด้วย และแสดงความดีใจยินดีที่ได้เจอกัน การแสดงออกถึงความผูกพันกับแฟนหรือคนรักอาจแทนที่ความผูกพันที่มีต่อแม่/ผู้เลี้ยงดูดูได้แต่ความรู้สึกผูกพันกับบุคคลในวัยเด็กจะยังคงอยู่ไม่สูญหายไป
3.ความผูกพันทางอารมณ์
ความผูกพันทางอารมณ์ เป็นความเอื้ออาทรที่ถูกสร้างขึ้น อาจถูกแทนที่และหายไปบางขณะ แต่ความผูกพันนั้นจะยังคงอยู่ตลอดไป ถ้ารักใคเราต้องการสร้างความผูกพันกับบุคคลนั้น แต่เมื่อสูญเสียเราจะรู้สึกเศร้าเสียใจ และเมื่อมื่อรู้ว่ากำลังจะสูญเสีย ก็จะเกิดความกังวลและเศร้าใจ บางครั้งรู้สึกโกรธ ความผูกพันที่ยืนยาวจะทำให้เกิดความั่นคงปลอดภัย และการสร้างความผูกพันใหม่ (bonding) จะทำให้เกิดความสุขความปิติ
4.ความผูกพันเกิดขึ้นในช่วงแรกของชีวิต
ความผูกพันจะสร้างได้ดีในช่วง 2 ขวบแรกของชีวิต และจะมีความลึกซึ้งอย่างมากในช่วง 9 เดือนแรก แต่ถ้าเกิดอุปสรรคไม่สามารถสร้างความผูกพันในช่วงนั้นได้ก็สามารถสร้างทดแทนได้หลังจากนั้น คือในช่วงอายุ 2-5 ขวบ แต่ความมั่นคงและความลึกซึ้งของความผูกพันอาจน้อยกว่าที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ขวบแรก
5.ประสบการณ์จากการเรียนรู้
แม้ว่าบางครั้งพ่อแม่ทอดทิ้งเด็ก ตีเด็กหรือกระทำทารุณต่อเด็ก เด็กก็จะสร้างความผูกพันกับพ่อแม่ได้แต่เป็นไปในลักษณะไม่มั่นคงปลอดภัยที่เรียกว่า insecure attachment
6.เกิดขึ้นอย่างมีระบบ
สิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์บางอย่างสามารถกระตุ้นให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความผูกพัน เช่น หิว อ่อนเพลีย กลัว ฯลฯ เราจะสังเกตเห็นเด็กงอแงและเกาะติดมากขึ้นเวลาที่เด็กอ่อนเพลีย หิว หรือกลัวได้ พฤติกรรมเหตุนี้จะหายไปเมื่อเด็กเห็นหน้าแม่หรือได้ยินเสียงแม่ ในเวลาที่เด็กมีความสุขดก้วยกันกับแม่ เด็กจะต้องการคลอเคลีย สัมผัส และโอบกอด
7.เป็นหน้าที่ทางกายวิภาคอย่างหนึ่ง
พฤติกรรมที่แสดงถึงความผูกพัน จะเกิดขึ้นในนมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมโดยมากเด็กหรือตัวอ่อนจะสร้างความรู้สึกผูกพันกับแม่ แม่จะเป็นผู้ดูแลให้เด็กปลอดภัย เป็นลักษณะของ “การปกป้องคุ้มครอง”เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ (survival value)
ในเด็กวัย 0-2 ปี ถ้าหากถูกทอดทิ้งและสามารถสร้างความผูกพันที่ดีกับผู้เลี้ยงดูได้ เด็กก็จะมีความผูกพันแบบไม่มั่นคงปลอดภัยซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเด็กจะแสดงออกโดยการเกาะติดคนเลี้ยงตลอดเวลาและไม่ยอมออกห่าง ร้องไห้งอแง เรียกร้องให้อุ้มตลอดเวลา ไม่ยอมอออกห่างไปเล่นของเล่นหรือเล่นกับเด็กอื่น บางคนจะหวงของเล่นไม่ยอมแบ่งปัน เด็กอีกกลุ่มหนึ่งอาจไม่ติดใครเลย ไม่สนใจพ่อแม่หรือคนเลี้ยง จะเล่นของเล่นคนเดียว ไม่มีความผูกพันทางอารมณ์หรือมีอารมณ์ร่วมกับใครๆ ซึ่งเด็กทั้งสองกลุ่มนี้จะมีปัญหาพฤติกรรมและปัญหาทางอารมณ์ตามมา ในทางกลับกันเด็กที่สามารถสร้างความผูกพันกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูได้ดีเด็กก็จะมีความผูกพันที่มั่นคงปลอดภัย และเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันทางใจหรือเป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆ ในอนาคต
ความรักที่พ่อแม่มอบแก่ลูกท่วมท้นกินกว่าสำนึกในหน้าที่ และการประคบประหงมเลี้ยงดูลูก มิใช่เพียงเพราะรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างมีให้แก่ลูกนั้นให้เปล่า ไม่เคยคิดจะเรียกร้องสิ่งตอบแทน เมื่อยามลูกต้องจำต้องจากไปอยู่ไกล พ่อแม่ส่งใจตามไปถึงไม่เว้นวาย ลูกทั้งหลายควรสำนึกสนองตอบทั้งพระคุณความรักของพ่อแม่ ซึ่งทำได้ในทันทีไม่ต้องรอ
|
|