เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: ความต้องการทางด้านจิตใจของเด็ก
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ07:34 31/กรกฎาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว)
ความต้องการทางด้านจิตใจของเด็ก
          ในการพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนั้น ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านเด็กได้เน้นถึงความสำคัญของเด็กว่า “เราจะต้องคำนึงถึงเด็กเป็นอันดับแรก:เด็กทุกคนจะเป็นที่ต้องการ มีสุขภาพดี มีการศึกษา ได้รับความรักและความปลอดภัย” นอกเหนือจากความต้องการด้านปัจจัยพื้นฐานแล้วเด็กยังมีความต้องการด้านจิตใจและสังคมด้วย
          ความต้องการด้านจิตใจและสังคม มีดังนี้
1.ความรักความอบอุ่น
เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่จะรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ พ่อแม่ควรให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็กอย่างสม่ำเสมอโดยปราศจากเงื่อนไขและจะต้องแสดงความรักออกมาให้เห็น การแสดงความรักอาจมีได้หลายรูปแบบเช่น การกอดรัด การให้สัมผัสที่อบอุ่น การสบตา การใช้วาจาที่สร้างสรรค์ และการให้ความสนใจ เป็นต้น พ่อแม่ควรเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับอายุของเด็ก เด็กๆทุกคนต้องการความรักและการยอมรับ เมื่อพ่อแม่พูดว่า ไม่รัก” หรือสดงท่าทีไม่สนใจ เด็กก็จะเสียใจ น้อยใจ บางครั้งที่พ่อแม่ให้ความสนใจน้องใหม่มากกว่า พี่รู้สึกอิจฉาน้อง ถ้าหากขาดรักเด็กจะรู้สึกว่าไม่เป็นที่ต้องการ ไม่มีคุณค่า เหงาและว้าเหง่ได้
2.การกระตุ้นอย่างเหมาะสม
เด็กต้องการการกระตุ้นอย่างเหมาะสม ทารกต้องการอุ้ม สัมผัส การยิ้มและการพูดคุย เมื่อโตขึ้นเด็กต้องการการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่มากขึ้น ในบางครั้งผู้ใหญ่มักเคยชินกับการให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่เด็กคอยช่วยเหลือเด็กตลอดเวลาและคิดว่าวิธีนี้เป็นการแสดงความรักอย่างเต็มเปี่ยม โดยไม่ได้สังเกตท่าทางของเด็กว่าต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองหรือไม่ เด็กจึงไม่ได้ฝึกหัดช่วยเหลือตนเอง ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะมีผลต่อพัฒนาการ การปรับตัวและการแก้ไขปัญหาในอนาคตของเด็ก อีกประการหนึ่งพ่อแม่ควรกระตุ้นหรือสนับสนุนให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ด้วย
3.ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
เด็กๆชอบที่จะสำรวจ ค้นคว้าทดลองทำในสิ่งต่างๆ ดังนั้นเด็กต้องการโอกาสในการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของตนเอง ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยเด็กจะได้เรียนรู้และมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก การที่เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เลี้ยงดู เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและเขาสามารถออกหากจากผู้เลี้ยงดูไปเล่นและสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้ หากเด็กถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งจะทำให้เด็กมีความสัมพันธ์กับพ่อแม่ไม่ดี (insecure attachment) เด็กจะรู้สึกไม่มั่นใจไม่กล้าออกไปเล่นหรือสำรวจสิ่งแวดล้อมภายนอกและอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าได้
4.คำแนะนำและการสนับสนุน
ผู้ใหญ่ควรสนับสนุนให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเอง โดยผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ห่างๆ และให้กำลังใจแก่เด็ก เมื่อเด็กประสบปัญหาพ่อแม่จำเป็นต้องให้คำแนะนำและชี้แนะ หรือแม้แต่การสอนทักษะใหม่ๆ พ่อแม่อาจต้องสอนทักษะในการแก้ปัญหาโดยอธิบายให้เด็กเข้าใจอย่างชัดเจน ในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ขวบ ยังไม่เข้าใจคำอธิบายที่เป็นนามธรรม ดังนั้น พ่อแม่ควรบอกเด็กตรงๆว่า คราวหน้าถ้าเขาเจอปัญหาอย่างนี้อีกเขาควรจะทำอย่างไร
5.ความสม่ำเสมอและการมีขอบเขต
รักเท่านั้นไม่เพียงพอ พ่อแม่จำเป็นต้องกำหนดกฎระเบียบของบ้านและมีขอบเขตในการเลี้ยงดูเด็กที่ชัดเจน เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมเด็กจำเป็นต้องควบคุมตนเองได้ระดับหนึ่ง เช่น เมื่อเวลาโกรธเด็กสามารถบอกว่าตนเองโกรธได้ แต่เขาไม่สามารถทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง หรือทำลายของ กฎระเบียบของบ้านสำหรับเด็กเล็กจะต้องสั้น ง่ายและชัดเจน นอกจากนี้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูจำเป็นต้องปฏิบัติกับเด็กอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
6.ให้โอกาสใช้พลังในทางสร้างสรรค์
เด็กเล็กเป็นวัยที่มีพละกำลัง ดังนั้นพ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ เด็กควรมีโอกาสได้เล่นและออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างการอ่อนแอ และมีอารมณ์แจ่มใส


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.