|
ข่าว: บทความวิชาการ แนวทางการพัฒนา EQ
โดย
อชิร ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร เมื่อ08:06 24/กรกฎาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว) |
บทความวิชาการ
แนวทางการพัฒนา EQ
EQ หรีอความฉลาดทางอารมณ์ สามารถพัฒนาได้ด้วยการเรียนรู้และฝึกฝนตนเองที่จะรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง จัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม และมีความสามารถในการที่จะเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น โดย EQ มักพัฒนาร่วมไปปกับการฝึกวินัยในตนเอง หลักที่สำคัญในการฝึกคือ
1.พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กได้ หรือกล่าวได้ว่าผู๔ใหญ่ต้องมี EQ ที่ดีก่อน หากลูกยังเห็นคุณแม่ระเบิกอารมณ์ใส่ตนเอง เขาคงไม่เห็นความสำคัญของการาควบคุมอารมณ์ตนเอง
2.การฝึกผนและเรียนรู้ควรอยู๋ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็ก การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่นร่วมกับช่วยเหลือเด็กให้ควบคุมตนเองได้ด้วยการกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน
3.การเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ที่ดี คือการให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง ให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกับอารมณ์ด้านลบของตนเอง เช่น โกรธ กลัว อิจฉา ร็สึกผิด ให้เขาเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับตนเอง เพียงแต่ตัวเขาจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการ หาแนวทางแก้ปัญหา (Solving Skill) ให้หลากหลายขึ้น แสดงอารมณ์ให้เหมาะสมขึ้นตามวัย
กิจกรรมในการฝึกพัฒฯ EQ
เด็กเล็ก-การฝึกวินัยในตนเอง หัดรู้จักให้แบ่งปันและการเล่นกับผู้อื่นให้เป็น
เด็กวัยเรียน-หัดการคิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา หัดให้เด็กฝึกการมองโลกทางบวก สอนให้เด็กเรียนรู้ความซื่อสัตย์ การพูดความจริง โดยผู้ปกครองควรให้กำลังใจและให้คำชมเชยเมื่อเด็กทำตามได้และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
เด็กโต-เคารพความเป็นส่วนตัวของเด็ก โดยถือว่าเด็กคือบุคคลคนหนึ่ง มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเหตุผลของตนเอง ให้เด็กมีอิสระทางความคิด แต่ยังมีข่อจำกัดในการฏิบัติตามวัยลดการวิพากษ์วิจารณ์หรือลงโทษเด็กอย่างรุนแรง ให้เหตุผลและข้อจำกัดตามวัยในการดูแล
หมอโลมา
|
|