|
ข่าว: นิทานคุณหนู
โดย
อชิร ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร เมื่อ07:38 22/กรกฎาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว) |
นิทานคุณหนู
เด็กเรียนรู้อะไรๆมากมายจากหนังสือ เด็กมักชอบดูรูปภาพในหนังสือ หรือเด็กอาจเพียงพลิกกระดาษไปมา ดูว่าอะไรซ่อนอยู่ใต้กระดาษแผ่นนั้นบ้าง โดยที่เด็กไม่ได้เรียนรู้วิชาการในหนังสือในตอนแรก แต่มันจะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถนั่งนิ่งอยู่กับสิ่งที่เขาสนใจได้นานขึ้น พ่อแม่อาจเริ่มต้นด้วยหนังสือรูปภาพเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจความเหมือนและความต่างในสิ่งรอบๆ ตัวหนังสือ ช่วยให้เด็กพัฒนาสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้อย่างมากมายจากหนังสือ เด็กอายุ 7 เดือนสามารถแยกแยะใบหน้าของคนหนึ่งออกจากอีกคนหนึ่งได้ เมื่ออายุ 10 เดือน เด็กสามารถแยกนกจากสุนัขได้ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่รู้ความหมายของคำนั้น ถ้าพ่อแม่ได้ให้เด็กดูรูปสุนัขหลายๆชนิด หลายๆครั้งและพูดว่า “หมา” ต่อมาเด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ได้มากขึ้น เด็กกสามารถแยกสุนัขออกจากสัตว์ชนิดอื่นๆได้ การฟังนิทานจะช่วยเด็กพัฒนาด้านภาษาและทักษะทางสังคม เวลานิทานจะเป็นเวลาที่เด็กเรียนรู้เรื่องเสียง เด็กจะได้เรียนรู้ความหมายของคำ และการสะกดคำในเวลาต่อมาแรกๆ เด็กจะฟังเสียงเพียงอย่างเดียว เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะช่วยถือหนังสือ ชี้รูปภาพ และออกเสียงตาม ต่อมาเด็กจะเลือกดูหนังสือที่ตัวเองชอบและให้พ่อแม่อ่านให้ฟังซ้ำๆ หรือผลัดกันพูดผลัดกันเล่า การอ่านหนังสือให้เด็กฟังจะช่วยให้เด็กรักการอ่านเมื่อเด็กโตขึ้น
ขณะอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ถ้าพ่อแม่ได้อุ้ม สัมผัมโอบกอดจะสามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และสร้างความสัมพันธ์แบบแน่นระหว่าง พ่อแม่-ลูก เด็กจะระลึกถึงวงแขนที่อบอุ่น ตักที่แสนสบาย ไม่ใช่การประเทืองปัญญาเพียงอย่างเดียว นักวิทยาศษสตร์ค้นพบว่า การอ่านหนังสือและคุยกับเด็กในช่วงสามปีแรกจะเป็นการกระตุ้นประสาทสมองของเด็กและช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการอ่านอีกด้วย
เมื่อไหร่จะเริ่มเล่านิทาน
พ่อแม่สามารถเริ่มเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน การเล่านิทานเป็นการช่วยให้พ่อแม่มีกิจกรรมร่วมกับเด็ก เด็กสนุกสนานที่จะได้อยู่ในอ้อมแขนและฟังเสียงพ่อแม่ การอ่านนิทานให้เด็กฟังควรอ่านช่วงสั้นๆ 2-3นาที เป็นลักษณะคล้ายชวนเด็กคุย ถ้าเด็กเริ่มหงุดหงิดให้หยุดไว้ก่อนแล้วค่อยเริ่มกันใหม่ในวันใหม่หรือเดือนใหม่ พ่อแม่อาจจะเริ่มเล่านิทานได้ผลดีเมื่อเด็กอายุ 7-8 เดือน เด็กวัยนี้เริ่มที่จะสำรวจวัตถุที่อยู่ในเมือง ชอบจับและคว้าของเข้าปาก เด็กอาจจะจับหนังสือ คว้าหนังสือมากัดที่ขอบ หรือจับหนังสือขว้าง พ่อแม่อาจต้องโอนอ่อนผ่อนตามลูกไปก่อนเพราะเด็กอาจตั้งใจฟังทีหลังก็ได้ เด็กอายุ 9-10 เดือน ไม่ค่อยจะคว้าของเข้าปากแล้ว เด็กพร้อมจะฟังนิทานอย่างาสนุกสนานเพราะเริ่มเข้าใจคำพูด เมื่ออายุ 12 เดือน เด็กจะเข้าใจคำพูดมากขึ้น การอ่านนิทานให้เด็กฟังจะทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น เข้าใจตำพูดมากขึ้น
พ่อแม่ไม่ควรหมดกำลังใจถ้าเด็กไม่ยอมนั่งฟังนิทาน เด็กอาจต้องการคลานหรือเดินมากกว่า การที่เด็กได้เดินและสำรวจไปรอบๆ จะทำให้เด็กสนใจหนังสือทีหลังก็ได้ เมื่อไหร่ที่เด็กคลานขึ้นมานั่งบนตักฟังพ่อแม่อ่านนิทาน นั่นคือ เด็กสนใจที่จะฟังมากขึ้นแล้ว
การเลือกหนังสือนิทาน
หนังสือแต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ต่างกัน และช่วยในด้านพัฒนาการของเด็กต่างกันด้วย
-หนังสือภาพ การเลือกหนังสือภพ ควรเป็นรูปสี รูปแบบง่ายๆ เป็นลักษณะรูปทางเรขาคณิต สิ่งของ จำนวน และจำนวนรูปภาพในแต่ละหน้าควรมีเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น เมื่อชี้ที่รูปภาพให้พูดช้าๆ พูดคุยเล่าเรื่องคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ บอกรายละเอียดคร่าวๆ เช่น นี่ลูกบอล ดูบอล กลมๆ เป็นต้น
-หนังสือนิทาน การอ่านหนังสือนิทาน ควรเลือกหนังสือที่สั้นๆ เข้าใจง่ายๆ เช่น ลูกหมูสามตัว ปลาแสนสวย ลูกหมีปวดฟัน คุณตาหนวดยาว เป็นต้น บางครั้งหนังสือเล่มยางๆ อาจทำให้เด็กสนใจได้เช่นเดียวกัน พ่อแม่อาจอ่านข้ามบางส่วนบางหน้าไปก่อน ในการอ่ายอาจทำเสียงสูงต่ำ ให้เด็กสนใจ อ่านหลายๆเที่ยว และอาจให้เด็กได้เดา/ทาย และออกเสียงตามรูปภาพ หรือออกเสียงคำท้ายบ้าง เมื่อเด็กโตขึ้นอาจผลัดกันเล่านิทาน โดยมากหนังสือนิทานมักเป็นการบรรยาย อาจจำเป็นต้องเลือกหนังสือที่กระตุ้นให้เด็กได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ เช่น เมื่อฉันกลัว เมื่อฉันโกรธ เมื่อฉันอิจฉา เป็นต้น ซึ่งหนังสือเหล่านี้จะทำให้เด็กรู้เกี่ยวกับอารมณ์ตนเองและคำพูดที่บอกสภาพอารมณ์ของตน เมื่อถึงเวลาสำหรับนิทานเด็กมักต้องการให้พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่รู้เบื่อ พ่อแม่อาจใช้วิธีการเล่านิทานกล่อมลูกน้อยเวลานอนและจะเป็นเวลาที่ดีสำหรับพ่อแม่ลูกได้
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆก็ทำได้และไม่เหนือบ่ากว่าแรง ไม่ว่าผู้ปกครองจะมีการศึกษาอย่างไร หรือมีสถานภาพทางเศรษฐกิจอย่างไร วิธีให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินราคาย่อมเยาว์แก่เด็กไม่มีวิธีใดดีกว่าการอ่านหนังสือให้บุตรหลานของท่านฟังและเป็นวิธีช่วยให้สมองของบุตรหลานเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน
|
|