เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: โรคออทิซึมคืออะไร?
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ07:47 21/กรกฎาคม/2563 (4 ปี 11 เดือนที่แล้ว)
โรคออทิซึมคืออะไร?
Resources for children with autism
โดย ศ.พญ.เพ็ญแข ลิ่มศิลา
โรคออทิซึม (Autism)
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
ความหมาย
โรคออทิซึม เป็นกลุ่มอาการที่มีพัฒนาการล่าช้าและผิดปกติ ทางด้าน
1.พัฒนาการด้านสังคม
2.พัฒนาการด้านการสื่อความหมายและภาษา
3.มีการกระทำและความสนใจซ้ำๆ
ระบาดวิทยา
  • โรคออทิซึม พบได้ 4-5:10,000 ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM IV และ 21:10,000 ตามการวินิจฉํยแบบ Austistic Spectrum
  • พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4 เท่า (ในไทยพบเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 3.3 เท่า)
  • มีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติกร้อยละ 3-7
  • พบในทุกเชื้อชาติ และเศรษฐานะ
เกณฑ์การวินิจฉัย
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM IV มีดังนี้
A.เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อ หรือมากกว่า จากหัวข้อ (1) (2) และ(3) อย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
(1)มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ แสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อดังต่อไปนี้
(a) บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยา หรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม
(b) ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุ
(c) ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
(d) ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
(2) มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติ แสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
(a) พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย (ไม่มีการแสดงว่าอยากใช้การสื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน เช่น แสดงท่าทาง)
(b)ในรายการที่พูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้
(c) ใช้คำพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
(d) ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่นเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
(3)มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำๆ และลักษณะเป็นเช่นเดิม แสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
(a)หมกมุ่นกับพฤติกรรม(sterotyped)ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และมีความสนใจในสิ่งต่างๆจำกัด ซี่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
(b)ติดกับกิจวัตรหรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
(c)ทำกิริยาซ้ำ(mannerism)(เช่น สะบัดมือ หมุน โยกตัว)
(d)สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B.มีความช้าหรือผิดปกติในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ก่อนอายุ 3 ปี (1)ปฏิสัมพันธ์กับสังคม(2)ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม หรือ (3) เล่นสมมติหรือเล่นตามจินตนาการ
C.ความผิดปกติไม่เข้ากับ Rett’s Disorder หรือ Childhood Disntegrative Disorder
อาการและอาการแสดง
เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งลักษณะอาการและอาการแสดง ระดับความรุนแรงของอาการจะเปลี่ยนไปตามอายุของเด็ก โดยจะมีพัฒนาการผิดปกติและล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ดังนี้ ในขวบปีแรก มักเลี้ยงง่าย ไม่ค่อยร้อง แต่ในบางรายอาจมีปัญหาการกิน ดูดนมไม่ดี กลืนไม่เป็น มีปัญหาการนอน นอนช่วงสั้นๆ ตื่นบ่อย ร้องไม่มีเหตุผลหรือเงียบเฉบเกินไป ไม่ติดใครเลยหรือติดมากผิดปกติ ไม่ชอบให้ถูกตัว ไม่ค่อยสบตา หรือจ้องอย่างมาก จ้องมองแบบทะลุทะลวงแต่ไม่มีความหมาย ช่วงหลัง 1 ปี จะเริ่มสังเกตว่า พูดช้า ไม่พูด หรือไม่ชี้ เช่น โรคสมองอับเสบ แม้แต่การเป็นหัด ไอกรม ที่มีภาวะแทรกซ้อน ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้พัฒนาการของสมองผิดปกติได้ เด็กออทิสติก ร้อยละ 25-30 จะมีอาการของโรคลมชักในระยะเริ่มเข้าวัยรุ่น จากการตรวจคลื่นสมองด้วยไฟฟ้า พบว่ามีความผิดปกติของคลื่นสมองแบบไม่เฉพาะเจาะจง (Non-specific) มากกว่าเด็กทั่วไป ขนาดของสมองโตกว่าเด็กทั่วไปเล็กน้อย โดยไม่ได้มาตั้งแต่แรกเกิด จากการศึกษาวิจัยพบว่า สมองของเด็กออทิสติกมีเซลล์ของสมองผิดปกติอยู่ 2 แห่ง คือ บริเวณที่ควบคุมด้านความจำ อารมณ์ และแรงจูงใจ ส่วนอีกบริเวณหนึ่งจะควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ลักษณะของเซลล์สมองทั้ง 2 แห่ง เป็นเซลล์ที่ไม่พัฒนาไปตามวัยของเด็ก
3.สื่อเคมีในสมองผิดปกติ เช่น ระดับของสารซีโรโตนินและสารโดปามีนสูงแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอน
4.ความผิดปกติระบบความต้านทาน คือมีระบบภูมิต้านทานกลับไปทำลายระบบประสาทของตนเอง
อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถบอกได้ถึงสาเหตุที่แน่นอน ส่วนปัจจัยการเลี้ยงดูนั้นไม่ใช่เหตุโดยตรง แต่เป็นสาเหตุส่งเสริมที่จะทำให้เด็กที่เป็นออทิสติกอยู่แล้ว มีอาการมากขึ้น หรือช่วยให้อาการของเด็กดีขึ้นได้
แนวทางการดูแลเด็กออทิสติก
การดูแลเด็กออทิสติก เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมเพื่อดึงเด็กออกจากโลกตนเองมาสู่สังคมในบ้าน ก่อนจะออกไปสู่สังคมนอกบ้าน เข้าสู่โรงเรียนและชุมชนต่อไป แนวทางการดูแลที่สำคัญมีดังนี้
  1. นำเด็กออกจากโลกของตนเองเข้าสู่สังคมในบ้าน
กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้มีการพัฒนาสมองของเด็กให้ตื่นตัวและทำหน้าที่ได้อย่างมีศักยภาพ เนื่องจากเด็กออทิสติกจะแสดงพฤติกรรมไม่รับรู้ ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองน้อยหรือมากเกินไป ต่อสิ่งเร้าประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ
1.1การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวกาย เพื่อให้รับรู้ถึงความใกล้ชิดระหว่างบุคคล การเล่นผูไต่ การเล่นจั๊กจี้ด้วยมือ การใช้จมูกหรือคางซุกไซ้ตามตัวเด็ก การนวดตัว การอุ้ม การกอด ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดความรัก ความอบอุ่น ความมีเยื่อใยซึ่งกันและกัน ซึ่งในเด็กออทิสสติกนั้น จะแยกตัวจากบุคคล จึงควรดึงเขาเข้ามาหาเรา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่และเด็กออทิสติกก่อน ควรกระตุ้นซ้ำๆทุกวัน
1.2การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางตา เด็กออทิสสติกทุกคนมีปัญหาในการสบตาอย่างมาก เนื่องจากมีการสูญเสียทางด้านสังคม และการสื่อความหมาย การกระตุ้นในระยะเริ่มแรกจะเน้นเฉพาะการมองสบตากับบุคคลก่อน
1.3การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางหู จะใช้เสียงบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็ก โดยกระซิบเรียกชื่อเด็กที่ข้างหู ต่อไปอาจใช้เสียงดนตรีช่วย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการสื่อความหมาย
1.4การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางจมูก เพื่อให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ถึงความแตกต่างของกลิ่น เช่น กลิ่นอาหาร ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น
1.5การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางลิ้น เพื่อให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ความแตกต่างของรสอาหาร เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น
2.สอนให้เด็กรู้จักตนเองและบุคคลในครอบครัว
ฝึกเด็กให้รับรู้ว่าตัวเองชื่ออะไร คนไหนคือพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นการสอนให้เด็กได้รับรู้และเข้าใจว่าบุคคลในครอบครัวมีความแตกต่างกัน การสอนให้เด็กรับรู้และเรียนรู้ความแตกต่างของบุคคล เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อความหมายและสังคมในระยะแรก
3.การหันตามน้ำเสียง
เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักชื่อของตนเอง ตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อตนเอง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการการสื่อความหมายและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากขึ้น
4.การจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
เด็กออทิสติกส่วนมากไม่สามารถชี้บอกความต้องการได้ จึงใข้วิธีจับมือบุคคลที่อยู่ใกล้ไปทำสิ่งนั้นแทน ผู้ฝึกจำเป็นต้องจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยลดปัญหาทางอารมณ์ของเด็กด้วย
5.การฝึกกิจวัตรประจำวัน
เริ่มฝึกให้เด็กรู้จักสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องใช้ในการฝึกกิจกรรมนั้นก่อน จนสามารถหยิบจับหรือชี้สิ่งของได้ถูกจึงฝึกต่อไป กิจกรรมที่ฝึกเช่น การทำความสะอาดร่างกาย การฝึกแต่งกาย ฝึกการขับถ่าย การใช้ช้อนรับประทานอาหาร
6.การเล่น
ฝึกเด็กให้รู้จักเล่นของเล่นจะเป็นการเชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อความหมาย และปรับอารมณ์ให้ดีได้ด้วย
7.ฝึกการสื่อสารด้วยการใช้ท่าทาง
ควรฝึกให้เด็กสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทางก่อนเพื่อบอกถึงความต้องการของตนเอง จากนั้นฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับพูด เช่น เป่ากบ เป่าสำลี ดูดหลอด ฯลฯ และฝึกพูดต่อไป (อ่านเพิ่มเติมในคู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง)
8.การรับรู้การแสดงออกทางสีหน้า
ฝึกให้เด็กสามารถรับรู้อารมณ์และความต้องการ เพื่อให้เด็กอยู่ในสังคมนอกบ้านได้อย่างเหมาะสม (อ่านเพิ่มเติมในคู่มือดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง)
9.การใข้ยา
ไม่มียาที่ใช้รักษาโรคออทิซึมโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ก็จะเป็นการใช้ยาตามอาการ เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ อารมณ์หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
การพยากรณ์โรค
-โรคออทิซึมรักษาไม่หายขาด แต่จะดีขึ้นได้ โดย 2 ใน 3 ของผู้ป่วย เมื่อโตขึ้นยังต้องการการดูแลช่วยเหลือ 1 ใน 3 สามารถประกอบอาชีพได้ มีเพียงร้อยละ 1-2 ที่ทำงานและดำรงชีวิตอย่างอิสระ
-ร้อยละ 50 ไม่มีภาษาพูด ในกลุ่มที่มีภาษาพูดมักพบมีความผิดปกติของการใช้ภาษาอยู่
1 ใน 6 พบมีโรคลมชักร่วมด้วย โดยพบอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
-2 ใน 3 ของผู้ป่วย มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย
-พยากรณ์โรคที่ดี เมื่อผู้ป่วยมีสติปัญญาดี โดยมี Nover IQ 1 มากกว่า 70 และมีความสามารถในการสื่อสาร (communicative competence) โดยพูดสื่อสารได้ก่อนอายุ 5 ปี
แนะนำหนังสือ
  1. เพ็ญแข ลิ่มศิลา.การวินิจฉัยโรคออทิซึม.สมุทรปราการ;ช.แสงงามการพิมพ์,2540.
  2. เพ็ญแข ลิ่มศิลา.ออทิซึ่ม.รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกั”ออทิซึม” สมุทรปราการ ช.แสงงามการพิมพ์,2541,หน้า1-26.
  3. โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์.คู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง.พ.ศ.2545.
  4. โรงพยาบาลยุงประสาทไวทโยปถัมภ์.คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง.พ.ศ.2545
  5. โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์.แนวทางดูแลรักษาโรคออทิซึมสำหรับบุคลากรการแพทย์.พ.ศ.2546
  6. อุมาพร ตรังคสมบัติ.ช่วยลูกออทิสติก:คู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ไม่ยอมแพ้.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์สำรับ.พ.ศ.2545
  7. American Psychiatric Association.Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder, (DSM-IV).4th edtion.Washington,DC: 7.American Psychiatric Association,1994:63-65
  8. Malone RP,Maislin G,Choudhury MS,Gifford C,Delaney MA,Risperdone treatment in children and adolescent with autism:short-ad long-term safety amd effectiveness. J Am Acad Child aAdolesc Psychiatry.2002;41(2):140-147.
  9. Sloman L.Use of medication in pervasive devrlopmental disordres.PsychiatrClin North Am. 1991;14(1):165-182.
  10. Tanguay PE.Pervasive developmental disordres:A 10-year review.J Am Acad Child Adolesc Psychirtry.2000 Sep;39(9):1079-1095.
  11. Volkmar FR,Lord C,Klin A,Cook E.Autism and the pervasive developmental disorders.In Lewis M,editors.Child and adolescent psychirtry a comprehensive textbook 3th edition.2002:587-596.


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.