เด็กเอาแต่ใจตัวเอง!ทำอย่างไรดี
โดย พญ.ชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ
เด็กๆบางครั้งก็จะแสดงอาการออกมาต่างๆนานา เพื่อให้ได้ดังใจที่ต้องการ เช่น ร้องไห้งอแงลงไป นอนดิ้นกับพื้น คุณพ่อคุณแม่ที่เคยเจอกับปัญหานี้บ้างไหมค่ะ เรามาช่วยกันปราบเจ้าตัวเล็กกันดีกว่าค่ะ เพื่อให้เด็กๆ มีการแสดงออกที่เหมาะสม มาดูกันเลยค่ะ ว่าเราจะทำอย่างไรกับเด็กๆ เจ้าอารมณ์
- หาสาเหตุที่ทำให้เจ้าตัวเล็กเกิดอาการเรียกร้อง เด็กๆ มักจะมีเหตุผลนำเสมอ เช้น หิว ไม่สบายตัว กลัว หรืออยากได้สิ่งของอะไรสักอย่าง ควรจะถามลูกว่าต้องการอะไร หรือเป็นอะไร และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น
- พูดกับลูกด้วยเหตุผล ใจเย็น ไม่ดุลูกเพราะจะทำให้เด็กแสดงอาการมากขึ้น
- หากยังไม่ได้ผล ให้ทำเป็นไม่สนใจในสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ ทำสีหน้านิ่งเฉยไม่แสดงอารมณ์ใส่ ลูกเดินออกมาดูลูกอยู่ห่างๆ เด็กๆจะได้รู้ว่าสิ่งที่เขากำลังเรียกร้องอยู่ไม่ได้ผล
- เมื่อลูกสงบลงควรชมลูกทุกครั้ง โอบกอดลูกไว้
*คงไม่ยากนะคะ วิธีปราบเจ้าตัวเล็ก ข้อสำคัญที่สุดคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งกับลูก เพื่อไม่ให้เขาเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการแบบผิดๆ เด็กก็จะเรียนรู้ไปเองว่าต้องทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งที่ต้องการ
How to improved EQ
EQหรือความฉลาดทางอารมณ์ สามารถพัฒนได้ด้วยการเรียนรู้และฝึกผนตนเองที่จะรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง จัดการกับอารมณ์ตนเอง จัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม และมีความสามารถในการที่จะเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น โดย EQ มักพัฒนาร่วมไปกับการฝึกวินัยในตนเอง หลักที่สำคัญในการฝึก คือ
- พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กได้ หรือกล่าวได้ว่าผู้ใหญ่ต้องมี EQ ที่ดีก่อน หากลูกยังเห็นคุณแม่ระเบิดอารมณ์ใส่ตนเอง เขาคงไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมอารมณ์ตนเอง
- การฝึกฝนและเรียนรู้ควรอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็ก การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่นร่วมกับช่วยเหลือเด็กให้ควบคุมตนเองได้ด้วยการกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน
- การเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ที่ดี คือการให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง ให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกับอารมณ์ด้านลบของตนเอง เช่น โกรธ กลัว อิจฉา รู้สึกผิด ให้เขาเข้าใจว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับตนเอง เพียงแต่ตัวเขาจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการ หาแนวทางแก้ปัญหา (Problem Solving Skull) ให้หลากหลายขึ้น แสดงอารมณ์ให้เหมาะสมขึ้นตามวัย
กิจกรรมในการฝึกการพัฒนา EQ
เด็กเล็ก-การฝึกวินัยในตนเอง หัดรู้จักการให้แบ่งปันและการเล่นกับผู้อื่นให้เป็น
เด็กวัยเรียน-หัดการคิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา หัดให้เด็กฝึกการมองโลกทางบวก สอนให้เด็กเรียนรู้ความซื่อสัตย์ การพูดความจริง โดยผู้ปกครองควรให้กำลังใจและให้คำชมเชยเมื่อเด็กทำตามได้และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้เหมาะสม
เด็กโต-เคารพความเป็นส่วนตัวของเด็ก โดยถือว่าเด็กคือบุคคลคนหนึ่ง มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เหตุผลของตนเอง ให้เด็กมีอิสระทางความคิด แต่ยังมีข้อจำกัดในการปฏิบัติตามวัย ลดการวิพากษ์วิจารณ์หรือลงโทษเด็กอย่างรุนแรง ใช้เหตุผลและข้อจำกัดตามวัยในการดูแล
|