|
ข่าว:
โดย
อชิร ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร เมื่อ08:51 26/มิถุนายน/2563 (5 ปี 15 วันที่แล้ว) |
1.เด็กชายเต้ยอายุ 3 ปีครึ่ง พูดคุยรู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ดี เริ่มไปโรงเรียนแล้ว เมื่อถึงวันปิดเทอม จำเป็นต้องพาไปตัดผมที่ร้าน เพื่อให้ดูสวยงามเรียบร้อย (ปกติคุณแม่จะใช้กรรไกรตัดเล็ม) ปรากฏว่าเมื่อไปถึงร้านตัดผม เด็กชายเต้ยกลับปฏิเสธที่จะเข้าร้าน และแสดงท่าทางตื่นกลัว คุณแม่สังเกตและจับได้ว่าลูกกลัวปัตตาเลี่ยน จากนั้นก็ไม่มองร้านตัดผมนั้นอีกเลย จะช่วยลูกอย่างไรดี
คำแนะนำ
-พาเดินผ่านร้านตัดผมบ่อยๆ พร้อมชี้ชวนให้ดูร้าน
-ทำความรู้จักกับช่างตัดผม ให้ความคุ้ยเคยกับเด็ก
-พาเด็กเข้าร้าน เพื่อไปนั่งดูคนอื่นตัดผม
-ให้เด็กฟังเสียง และได้มีโอกาสสัมผัสปัตตาเลี่ยน
-ให้ช่างตัดผมทดลองมาตัดไถบริเวณเสื้อผ้าของเด็ก
-ให้สิ่งที่เด็กชอบเป็นรางวัล เมื่อเด็กยอมตัดผม
2.ปัจจุบันลูกสาวอายุ 5 ขวบ เริ่มพูดได้เป็นคำๆ เข้าใจคำสั่ง และทำตามคำสั่งได้ มีพัฒนาการด้านสติปัญญาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่หยิบจับดินสอไม่มั่นคง การลงน้ำหนักกดยังน้อย พร้อมๆกับเรื่องของการช่วยหลือตนเองเกี่ยวกับการใช้มือไม่ค่อยดีนัก จะมีวิธีการช่วยเหลือลูกอย่างไร
คำแนะนำ
- พ่อแม่ต้องคิดในใจไว้ตลอดว่า ลูกต้องทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองตามวัย
- พัฒนาการกล้ามเนื้อลูกด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
-เล่นแป้งโด ดินน้ำมัน
-หนีบไม้หนีบ
-บีบ ขยำฟองน้ำ
-เปิด-ปิดฝาเกลียว แกะห่อขนม ของขวัญ
-ยกของมีน้ำหนัก ดึง ลากวัตถุ
-ฉีกกระดาษ ขยำกระดาษ ตัดกระดาษ
-ฝึกขีดเขียน ลากเส้น ระบายสี
3.เด็กชายมาร์ค อายุ 2 ปีครึ่ง ซน ไม่ค่อยมีสมาธิ วอกแวก สนใจสิ่งแวดล้อมรอบจตัว แต่เริ่มเล่นเสียงอย่างตั้งใจ ลูกชอบเปิดดูหนังสือ นิตยสารต่างๆ ดูโฆษณาในโบร์ชัวร์ และดูหนังสือภาพสวยงาม มีเทคนิคใดบ้างที่จะช่วยให้ลูกนิ่งขึ้น สบตามากขึ้น และพูดได้ในที่สุด
คำแนะนำ จากการฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก เทคนิคการใช้พยัญชนะไทยเพื่อเพิ่มการสร้างพฤติกรรมใหม่ได้ผลประมาณร้อยละ 70 ด้วยวิธีการดังนี้
- ทำบัตรภาพ ก-ฮ บัตรละ 1 ภาพ รวม 44 แผ่น
- ยกอ่านสลับทีละภาพ โดยยกระดับสายตา อ่านช้าๆ ก.ไก่,ข.ไข่ จนถึง ฮ.นกฮูก
- เมื่อเด็กเริ่มนิ่ง และมองตามภาพ ให้ค่อยๆ จับมือเด็กชี้
- เมื่อเด็กเริ่มชี้ ให้เน้นเด็กมองตาและปากของผู้สอนด้วย
- อ่านซ้ำๆ วันละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อเด็กไม่นิ่ง เป็นการจุดประกายแห่งสมาธิก่อน
- ระยะต่อมาเด็กจะจำได้ และเริ่มเลียนแบบการออกเสียงตาม
ติดหลอดกาแฟมากทำอย่างไรดี
คุณแม่พาน้องแทนอายุ 4 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิซึม มาฝึกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ เด็กพอที่จะโต้ตอบง่ายๆ ได้แล้ว แต่น้องแทนติดถือหลอดกาแฟตลอดเวลา ถ้าแม่แย่งหลอดกาแฟหรือไม่ยอมให้ถือแทนจะหงุดหงิดอย่างมาก อาละวาดลงดิ้นกับพื้น ไม่รู้ว่าจะปรับพฤติกรรมอย่างไรดี
คำแนะนำ
-สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกและวิเคราะห์พฤติกรรมนั้นก่อนการปรับเปลี่ยน เช่น ถ้าเปลี่ยนแล้วยอมหรือไม่ติดอะไรมากเป็นพิเศษ
-กำหนดแนวทางแก้ไข เช่น เบี่ยงเบน ให้ใช้มือทำกิจกรรม ตัดหลอดให้สั้นลงเรื่อยๆ ไม่ซื้อหลอดเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน
-ไม่สร้างความโกรธโดยการแย่งของที่ถือติดมือ หรือล้อเลียน โดยการยั่งเด็กให้ไม่พอใจ
-การแก้พฤติกรรมซ้ำซากไม่จำเป็นต้องทำให้หายไปเลยทันทีทันใด ให้ปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปจะดีกว่า
-คำชมเชยเป็นแรงเสริมทางบวกที่ดี ถ้าเด็กยอมเก็บหลอดกาแฟใส่กระเป๋า งดเว้นการเล่นได้ชั่วขณะ ให้ชมเชยว่าดีหรือเก่ง จะสร้างความรู้สึกที่ดี และสุขแทนการหมกมุ่นเรื่อซ้ำซากได้
ตัดเล็บไม่ได้ทำอย่างไรดี
น้องพีพีอายุ 4 ปี เด็กรับการวินิจฉัยว่าเป็นแอสเพอร์เกอร์มีปัญหาไม่ยอมตัดเล็บ แม่ต้องแอบตัดเมื่อเด็กนอนหลับแล้วทุกครั้ง แม่อยากให้น้องพีพียอมรับการตัดเล็บเหมือนเด็กทั่วไป แต่ไม่สามารถพูดให้พีพีเข้าใจได้ เด็กโต้ตอบได้แต่ก็ยังพูดซ้ำๆ ในสิ่งที่ตัวเองสนใจอยู่
คำแนะนำ
-ผู้ปกครองต้องใช้เทคนิคการพูดให้เด็กเข้าใจว่า การตัดเล็บไม่เป็นอันตราย โดยสาธิตการตัดเล็บของเด็กวัยเดียวกันให้ดูเป็นตัวอย่าง พร้อมให้คำชมเชย
-ให้คำขมเชยเมื่อเด็กให้ความร่วมมือที่จะยอมให้จับมือ พร้อมปลอบใจไม่ให้กลัว
-เตรียมกรรไกรตัดเล็บที่มีลักษณะคมและตัดง่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเจ็บ
-เมื่อตัดได้ 1 นิ้วมือควรจะให้เด็กหยุดพักสักครู่ก่อนที่จะตัดต่อในเล็บต่อไป แต่ถ้าไม่ได้ผลให้ลองตัดแบบครั้งเดียวในระยะสั้นๆ แล้วเสร็จทุกนิ้ว ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของเด็กแต่ละราย
“เทคนิคที่สำคัญ อย่าขู่ให้เด็กกลัว”
มีปัญหาป้อนยาลูกไม่ได้
น้องไก่ อายุ 3 ปี มีปัญหารับประทานยายากมาก แพทย์วินิจฉัยเป็นออทิสติก เด็กมีปัญหาทางด้านอารมณ์อย่างมาก ทำร้ายตนเอง ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง รูปร่างอ้วนใหญ่ แม่และพ่อป้อนยาไม่ได้เลยเพราะเด็กต่อต้าน ทำให้มีปัญหาเรื่องการฝึกกิจกรรมทำได้น้อยมาก พ่อแม่อยากให้เด็กทานยาได้ ควรจะทำอย่างไรดี
คำแนะนำ
-ก่อนให้ลูกรับประทานยา พ่อและแม่ต้องยอมรับการรักษาทางยาของแพทย์ ถ้าสงสัย ไม่สบายใจ สามารถซักถามแพทย์หรือเภสัชกรได้
-ให้ยาลูกตามขนาดและเวลาอย่างต่อเนื่อง
-กรณียาน้ำ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเป็นกระบอกดูดยาที่แนบมากับขวดยาบางประเภทช่วยในการป้อนยา
-ควรนำยาผสมกับน้ำแดงเล็กน้อย ไม่ควรเกิน 1-2 ซี.ซี. เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกว่ายาขม
-กรณียาเม็ดควรใช้วิธีบดก่อนแล้วผสมกับย้ำแดง
-ในกรณีที่เด็กต่อต้านมาก ต้องอุ้มเด็กนั่งตัก กอดเด็กให้อยู่นิ่งๆ ช่วยจับปากเด็กให้อ้าอากที่จะรับยา ดันยาจากกระบอกสูบเข้าปากเด็กและปิดปากให้สนิท เอานิ้วช่วยกลั้นลม หายใจป็นจังหวะ เพื่อให้เด็กรับประทานยา และกลืนยาลง ป้องกันไม่ให้พ่นออก
-ข้อสำคัญของการฝึกให้รับประทานยา ต้องสร้างความรู้สึกที่ดี คือชมเชยเมื่อเด็กร่วมมือได้บ้าง
-อย่าหลอก หรือขู่ เรื่องการรับประทานยา
-สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงหลังการให้ยา โดยมีการบันทึก และแจ้งผลการรักษาให้แพทย์ทราบ
|
|