เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: เมื่อเด็กออทิสติกทำร้ายตนเอง
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ08:50 26/มิถุนายน/2563 (5 ปี 16 วันที่แล้ว)
เมื่อเด็กออทิสติกทำร้ายตนเอง
คุณสมโภชน์ งามสง่า
คุณวัฒนา ศรีสนั่น
คุณเสาวนีย์ บัวลา
          พฤติกรรมทำร้ายตนเองในเด็กออทิสติก เช่น โขกศีรษะ ตีตนเอง ดึงผมของตนเอง ฯลฯ มักเกิดจากการที่เด็กรู้สึกไม่สบายใจ อึดอัดใจ สับสน ตกใจกลัว กรือวิตกกังวล เนื่องจากไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ไม่รู้จะจัดการแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังไม่สามารถสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือได้ ความรู้สึกดังกล่าวจึงแสดงออกด้วยพฤติกรรมทำร้ายตนเอง วิธีการช่วยเหลือ ปรับพฤติกรรมเด็กที่มีการทำร้ายตนเอง มีหลักสำคัญดังนี้
  1. หยุดพฤติกรรมการทำร้ายตนเองของเด็ก เมื่อเด็กสงบแล้ว ควรทำความเข้าใจสาเหตุว่า อะไรทำให้เกิดการทำร้ายตนเอง แล้ววิเคราะห์ว่าพฤติกรรมนั้นมีความเป็นมาอย่างไร เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร
  2. เมื่อค้นหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้เกิดการทำร้ายตนเองได้แล้ว ก็มาทำการแก้ไขปัญหานั้น ซึ่งปัญหาอาจจะมาจากหลายสาเหตุ แต่ละคนก็จะมีปัญหาสาเหตุแตกต่างกันไป แต่มีวิธีแก้ไขที่ไม่แตกต่างกันนักคือ
-หยุดหรือพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความคับข้องใจ ไม่สบายใจ อึดอัด สับสน จนเกิดพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
-เบี่ยงเบนความสนใจเมื่อเด็กเริ่มมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง โดยการพูดคุยปลอบโยนเบาๆ หรือหากิจกรรมอื่นให้ทำ ควรเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายหรือที่เด็กชอบ
-ใช้วิธีเพิกเฉย ไม่สนใจพฤติกรรมทำร้ายตนเอง เมื่อพบว่าเด็กทำร้ายตนเองเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือทำเมื่อรู้ว่าทำแล้วจะได้สิ่งที่ต้องการ
-เด็กออทิสติกบางราย อาจเกิดพฤติกรรมการทำร้ายตนเองโดยไม่มีสาเหตุ โดยเฉพาะผู้ที่มีสมองผิดปกติชัดเจน หรือปัญญาอ่อนอย่างมากร่วมด้วย ในกรณีนี้การทำร้ายตนเองอาจจะรุนแรงมาก การปรับพฤติกรรมอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลจึงจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา
          หลักสำคัญในการปรับพฤติกรรมการทำร้ายตนเองที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องจริงจังในการปรับแก้ไข มีความอดทน สม่ำเสมอ และอย่าท้อแท้หมอดหวัง


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.