|
ข่าว: เด็กปัสสาวะประท้วง
โดย
อชิร ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร เมื่อ08:39 26/มิถุนายน/2563 (5 ปี 16 วันที่แล้ว) |
เด็กปัสสาวะประท้วง
เด็กประท้วงเป็นอย่างไร
เด็กออทิสติกจะมีอารมณ์อ่อนไหวมาก ถ้าไม่พอใจหรือโกรธแม้แต่เรื่องเล็กน้อยเด็กก็ยอมไม่ได้ที่จะส่งเสียงร้องโวยวาย ให้เกิดความรำคาญกับผู้ดูแล แต่เด็กจะยังไม่ยอมหยุดแต่เพียงแค่พฤติกรรมร้องไห้นี้เท่านั้น ยังทีทีเด็ดที่ทำให้ผู้ดูแลเด็กต้องก่ายหน้าผากในพฤติกรรมของเจ้าเด็กขี้โมโหอีกหลายอย่าง เช่น การปัสสาวะราด การขว้างปาสิ่งของ เป็นต้น ยิ่งเด็กที่ร้องไห้แบบไม่ยอมหยุด พร้อมแจกของแถมด้วยการปัสสาวะประท้วงนี่สิคงต้องคิดหนักก็ก็ดดยพยยยยไยยบ
ทำไมเด็กถึงต้องประท้วง
จากสภาะอารมณ์ที่เด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จากภาวะความวิตกกังวลหรือความเครียดที่ความต้องการของตัวเด็กเองไม่ได้ตามที่ใจคิด ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง จึงได้มีการแสดงพฤติกรรมเพื่อสนองตอบความต้องการของตนเองด้วยการประท้วง ปัสสาวะราดบ่อยๆ ทุกครั้งที่ถูกขัดใจ หรือการกัดและทำร้ายตนเอง เล่นน้ำลาย และการขว้างปาสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เป็นการแสดงความก้าวร้าวทางพฤติกรรมต่อภาวะอารมณ์ทางด้านจิตใจของเด็ก ที่ไม่สามารถแสดงความรู้สึกของตนเองและความต้องการให้ผู้อื่นทราบได้ คือแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ขี้โมโห เอาแต่ใจตนเอง ก้าวร้าว ไม่ทำตามกฎกติกาและทำร้ายตนเอง
เราจะมาแก้ไขกันอย่างไร
จากพฤติกรรมประท้วงเป็นเหตุนำมาซึ่งความเดือดร้อน วุ่นวาย ทั้งแก่ตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เราจึงควรหันมาให้ความสำคัญและสนใจที่จะช่วยเหลือเด็กจากสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงนี้กันเถอะ ด้วยการทำความเข้าใจกับเด็กและครอบครัว พร้อมทั้งค้นหาวิธีการจัดการกับคสามรุนแรงของปัญหาดังนี้
- ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก แต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมการประท้วงด้วยความรุนแรง และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ด้วยการพูดและแนะนำเด็กให้แสดงออกอย่างเหมาะสม
- เมื่อเด็กมีพฤติกรรมประท้วง ให้เด็กรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ทำลงไป เช่น เช็ดบริเวณที่ปัสสาวะราดและเปลี่ยนเสื้อผ้า พร้อมทั้งนำไปใส่ตะกร้าผ้า
- เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและทำลายสิ่งของร่วมกับปัสสาวะประท้วง อย่าพยายามส่งเสริมด้วยความรุนแรงกลับไปที่ตัวเด็ก เช่น การดุ ด่า,การตี สิ่งนี้จะเป็นสิ่งเร้าให้เด็กยิ่งหงุดหงิดและแสดงพฤติกรรมประท้วงมากขึ้น ควรแยกเด็กมาจากกลุ่มเพื่อนๆแทน
- กิจกรรมจะเป็นสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กได้ดี ควรหากิจกรรมที่เด็กสนใจ และชื่นชอบเป็นพิเศษมาปรับพฤติกรรม เช่น เดกบด็กบางคนจะชอบร้องเพลงและฟังเพลงมาก เมื่อได้ยินเสียงเพลง อารมณ์ที่หงุดหงิดอยู่ก็จะสงบลงทันที ยังแถมด้วยการมานั่งเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ได้อีกด้วย
- จัดกิจกรรมประจำวันของเด็กให้เป็ยเวลา โดยการพาเด็กเข้าห้องน้ำบ่อยๆ และเมื่อเด็กเริ่มแสดงอาการประท้วง พยายามพูดคุยและซักถามความต้องการของเด็ก คอยสังเกตและประเมินภาวะอารมณ์ของเด็ก
- ชมเชยเมื่อเด็กควบคุมอารมณ์ตนเองได้และแสดงพฤติกรรมเหมาะสม
|
|