เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: เทคนิคและปัจจัยที่จำเป็นต่อการฝึกกิจกรรมเด็กออทิสติก
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ08:36 26/มิถุนายน/2563 (5 ปี 16 วันที่แล้ว)
เทคนิคและปัจจัยที่จำเป็นต่อการฝึกกิจกรรมเด็กออทิสติก
“ครู จะฝึกยังไงดี ที่บ้านก็พยายามฝึกนะ แต่เขาไม่สนใจ”
“เวลาฝึก เขาไม่ร่วมมือเลย”
         กับอีกหลายคำถามและคำบอกเล่าจากผู้ปกครองที่พูดหรือบ่นให้ฟัง ถึงความไม่ร่วมมือของบุตรหลาน และผลของการฝึกกิจกรรมที่ไม่เป็นอย่างที่หวัง การฝึกกิจกรรมให้กับเด็กออทิสติกเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญไหม คำตอบคือ”ไม่”ทุกคนฝึกเด็กได้ ทุกคนสามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ ถ้าการฝึกเด็กนั้น ทำอย่าง สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ถูกต้องและต้องไม่หยุดที่จะฝึก เพราะถ้าเราหยุดการฝึกเท่ากับว่าเราสนับสนุนให้ความสามารถของเด็กถอยหลังแล้ว การฝึกให้เด็กออทิสติกทำอะไรทุกอย่าง ขอให้ผู้ฝึกยึดเทคนิคการฝึก 4 ขั้นตอนดังนี้
  1. การทำให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเลียนแบบ (ต้องแน่ใจมอง ฟังทุกขั้นตอนของการสาธิต)
  2. การจับมือทำ ถ้าทำให้ดูแล้วเขาทำไม่ได้ต้องจับมือทำก่อน (เน้นให้ตาเขามองตามมือเวลาทำกิจกรรมทุกขั้นตอน)
  3. การแตะนำ คือการใช้มือแตะเพียงข้อมือหรือข้อศอก เพื่อช่วยปนะคองให้เด็กทำกิจกรรมสำเร็จ(ใช้ขั้นตอนนี้เมื่อสังเกตว่าเด็กทำกิจกรรมบางขั้นตอนได้บ้างแล้ว)
  4. การใช้คำบอกเป็นตัวกระตุ้น เมื่อแน่ใจว่าเด็กทำกิจกรรมได้แล้ว แต่ไม่สนใจที่จะทำหรือไม่รู้ว่าจะทำในโอกาสไหน(เวลาจะบอกให้เด็กทำอะไร ต้องแน่ใจว่าเด็กมองหน้า สบตาผู้ฝึก)
นอกจากเทคนิคการฝึกแล้ว ผู้ฝึกต้องคำนึงถึง ปัจจัยที่จำเป็นต่อการฝึก ปัจจัยเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การฝึกนั้นจะได้ผลเป็นอย่างไร ปัจจัยที่จำเป็นที่เราจะกล่าวถึงคือ
  1. ปัจจัยด้านผู้ฝึก
  • ถ้าการฝึกจะได้ผลดี ควรเป็นผู้ฝึก 1 คน ต่อเด็ก 1 คน
  • ผู้ฝึกจะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้เบื้องต้นของการฝึก
  • ท่าทางของผู้ฝึกควรจะนุ่มนวล ไม่แสดงท่าทางบังคับเด็กให้ทำกิจกรรม
  • น้ำเสียงของผู้ฝึกต้องไม่แข็งกระด้างหรือดุดัน ควรใช้น้ำเสียงสูงต่ำ เพื่อเร้าความสนใจของเด็กและดังพอที่เด็กฟังได้อย่างชัดเจน แต่ไม่ใช่การตะโกน
  • ผู้ฝึกต้องอารมณ์ไม่หงุดหงิด เศร้าหรือโกรธ ขณะที่ทำการฝึกกิจกรรมให้เด็ก
  1. ปัจจัยด้านเด็ก
  • เด็กต้องมีอารมณ์ดี พร้อมสำหรับการฝึก
  • ถ้าเด็กสมาธิยังไม่มี ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง จะทำให้การฝึกกิจกรรมทำได้ยาก ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก เพื่อพิจารณาการใช้ยาซึ่งจะช่วยให้สมาธิของเด็กดีขึ้น
  • ถ้าเด็กร้องไห้ งอแงมาก ทำร้ายตนเอง ผู้อื่นหรือทำลายข้าวของ ยังไม่ควรทำการฝึกกิจกรรม ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก เพื่อพิจารณาการใช้ยา และใข้เทคนิคการลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์จนเด็กมีความพร้อมต่อการฝึกต่อไป
  1. ปัจจัยด้านสถานที่การฝึก
  • ต้องเป็นสถานท่สงบ
  • ไม่มีคนพลุกพล่าน
  • มีแสงสว่างเพียงพอ
  • อากาศถ่ายเทได้สะดวก
อย่าลืม!
  • การฝึกกิจกรรมต้องพิจารณากิจกรรมตามวัยของเด็ก
  • ทุกครั้งที่เด็กร่วมมือหรือทำกิจกรรมได้ตามคำบอก ควรให้แรงเสริม เช่น คำชมเชย (เก่ง,ดีมาก) การโอบกอด เป็นต้น เพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจและร่วมมือทำกิจกรรมต่อไป
  • แต่ถ้าเด็กทำกิจกรรมไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง ผู้ฝึกต้องไม่ดุหรือตำหนึเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเสียความมั่นใจ
บทความโดย คุณอัจฉรีย์ สุวรรณกุล
พยาบาลวิชาชีพ


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.