เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 ข่าว
  กลับหน้าหลัก
ข่าวทั้งหมด 58
ข่าวที่ปัจจุบัน 0
ข่าว: การรักษาด้วยยาในเด็กออทิสติก
  โดย
อชิร
ห้องสมุดโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
อชิร

  เมื่อ08:32 26/มิถุนายน/2563 (5 ปี 16 วันที่แล้ว)
การรักษาด้วยยาในเด็กออทิสติก
           แม้ว่าในปัจจุบันได้มีการศึกษาเกี่ยวกับโรคออทิซึมมาขึ้น แต่การรักษาโยตรงของความบกพร่องทางด้านสังคม ภาษา และพฤติกรรมในเด็กออทิสติกนั้นยังเป็นการกระตุ้นด้านพฤติกรรมบำบัด,พฤติกรรมบำบัด,อรรถบำบัด และการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา เพราะในปัจจุบันก็ยังไม่พบยาที่มีส่วนช่วยลดอาการที่เป็นลักษณะที่ผิดปกติสำคัญของโรคออทิซึม นอกจากใช้ลดพฤติกรรมที่ผิดปกติเป็นบางจุด หรือช่วยกระตุ้นการรักษาเดิมให้ใประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการ(ใช้)ยาในเด็กออทิสติกจึงขึ้นอยู่กับอาการที่ต้องการแก้ไข และจำเป็นต้องชั่งถึงผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวเด็กเอง
ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยยาในเด็กออทิสติก
  1. อาการของโรคทางจิตเวช เช่น อาการทางจิต หูแว่ว ประสาทหลอน ซึมเศร้า
  2. อาการของโรคลมชัก อาการผิดปกติทางด้านพฤติกรรมเฉพาะด้าน เฃ่น ปัญหาด้านการนอน พฤติกรรมที่อยู่ไม่สุข ว่องไวไม่อยู่นิ่ง มีปัญหาด้านอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง พฤติกรรมซ้ำๆหรือการกระตุ้นตนเองมากเกินไป จนพยาบาลหรือผู้ปกครองไม่สามารถฝึกหรือให้ทำกิจกรรมต่างๆได้ หรือมีผลเสียต่อการปรับตัวของเด็กต่อสังคมและโรงเรียน ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้มีอยู่หลายตัวอาทิเช่น Haloperidal,Risperidone,Valproic acid,Carbamazepine ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ยาตัวใดขึ้นอยู่กับอาการผิดปกติที่ต้องการแก้ไขในเด็ก
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทราบ
  • เด็กออทิสติกไม่จำเป็นต้องรับประทานยารักษาทุกคน เนื่องจากการรักษาด้วยยาขึ้นกับอาการผิดปกติของเด็กแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
  • เด็กออทิสติกที่มีปัญหาความผิดปกติในอาการเดียวกันอาจทานยาคนละชนิดได้
  • การใช้ยาในการรักษาอาการผิดปกติขงโรคออทิซึมต้องได้จากแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  • การใช้ยาในเด็กออทิซึมต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อแพทย์จะได้ดูแลปรับขนาดของยาตามน้ำหนักและอาการของเด็กเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด
  •  เมื่อผู้ปกครองมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่รับประทานต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อขอคำแนะนำ อย่าหยุดยา หรือปรับยา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้
 
 


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.