LEADER 00000nam 2200000uu 4500 |
001 8492 |
003 ULIBM |
008 020711s2558 th a 000 0 tha d |
060 ว.WM29.5 ช685 2558
|
100 ชูศรี เกิดพงษ์บุญโชติ
|
245 การรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเวชที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา/ชูศรี เกิดพงษ์บุญโชติ, เบญจพร ปัญญายง และชูชาติ วงศ์อนุชิต
|
260 กรุงเทพฯ :^bสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา,^c2558
|
300 69 หน้า
|
550 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปกับความภาคภูมิใจในตนเองของผู้ป่วยจิตเวช วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2557 เครื่องมือประกอบด้วยแบบวัดการรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองของการมีภาวะเจ็บป่วยทางจิต (ISMI) ฉบับภาษาไทย และแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของ Rosenberg วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตราบาปภายในใจระหว่างกลุ่มด้วย t-test ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมของการรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองด้วย Multiple linear regression ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการรับรู้ตราบาปกับคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผล มีผู้ป่วยจำนวน 390 คนจำแนกเป็นโรคจิตเภทมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองของการมีภาวะเจ็บป่วยทางจิตอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองสูง ได้แก่ มีระดับการศึกษาต่ำกว่า การไม่มีงานทำ และการมีประสบการณ์การถูกกีดกัน และประเภทของโรคทางจิตเวช กลุ่มโรคจิตเภท โรคอารมณ์แบบสองขั้ว และความผิดปกติทางจิตจากการใช้สารเสพติดจะมีการรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองมากกว่าโรคจิตวิตกกังวล และการรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองของผู้ป่วยจิตเวชสัมพันธ์ทางลบกับความภาคภูมิใจในตนเอง สรุป ผู้ป่วยโรคจิตเวชในภาพรวมมีการรับรู้ตราบาปในระดับเล็กน้อย ปัจจัยหกข้อที่มีผลต่อการรับรู้ตราบาปคือ ระดับการศึกษา การมีงานทำ การไม่มีรายได้ของตนเอง การวินิจฉัยโรค และการมีประสบการณ์การถูกกีดกันจากการมีภาวะเจ็บป่วยทางจิต 3 ด้าน การรับรู้ตราบาปภายในใจตนเองสูงจะทำให้ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ
|
650 ผู้ป่วยจิตเวช ^xวิจัย
|
650 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา^xวิจัย
|
700 เบญจพร ปัญญายง
|
700 ชูชาติ วงศ์อนุชิ
|
999 ^aลำอวน รอบคอบ
|