LEADER 00000nam 2200000uu 4500 |
001 8481 |
003 ULIBM |
008 020711s2551 th a 000 0 tha d |
060 ว.WM430 ว844 2551
|
100 วีระชัย เตชะนิรัติศัย
|
245 การบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยในโครงการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ /วีระชัย เตชะนิรัติศัย
|
246 00 Cognitve Behavioral Therapy for Patients in Suicidal
|
246 Mo nitoring Project Nakornratchasimarajanakarindra Psychiatric Hospital
|
246 Co gnitve Behavioral Therapy for Patients in Suicidal
|
246 Mo nitoring Project Nakornratchasimarajanakarindra Psychiatric Hospital
|
260 ขอนแก่น :^bมหาวิทยาลัยขอนแก่น,^c2551
|
300 110 หน้า
|
500 รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2551
|
550 การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า ในโครงการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2550 จำนวน 14 คน ที่พบว่ามีภาวะซึมเศร้า และไม่มีภาวะบกพร่องทางความคิด เข้าร่วมบำบัดโดยใช้โปรแกรมการบำบัดที่ผู้ศึกษาได้จัดทำขึ้นตามหลักการ และแนวคิดวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม โปรแกรมการบำบัดประกอบด้วยการบำบัดทั้งสิ้น 5 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที วันเว้นวัน และติดตามผลหลังการบำบัดทุก 1 เดือนต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 เดือน เนื้อหาการบำบัดประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ธรรมชาติของภาวะซึมเศร้า เหตุผลของการบำบัด 2) การค้นหาความคิดทางลบ 3) การสอนความสัมพันธ์ของความคิด อารมณ์ พฤติกรรมและการหาหลักฐานสนับสนุนความคิด อารมณ์ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น 4) การปรับความคิดและพฤติกรรม 5) การสรุปทบทวนความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเตรียมให้ผู้ป่วยเป็นผู้บำบัดตนเอง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ ให้ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบประเมินสภาวะจิตชนิดสั้น (MMSE) แบบวัดความซึมเศร้า (TDI) ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยหลังการบำบัด และในระยะติดตามผลการบำบัดทุก 1 เดือน ต่อเนื่องกัน เป็นเวลา 3 เดือน มีระดับลดลง แสดงให้เห็นว่า นอกจากการรักษาด้วยยา การบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม สามารถช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนมีแบบแผนความคิดไปในทางบวก สามารถแยกแยะความคิดที่บิดเบือนได้ และมีความยืดหย่นและยอมรับความเป็นจริงได้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความสามารถในการควบคุมการดำเนินชีวิตของตนเอง มีความคิดว่าตนเองมีคุณค่า มีความหวังต่อการมีชีวิตอยู่ ส่งผลต่อการลดระดับภาวะซึมเศร้า
|
650 ความคิดและพฤติกรรม ^xการบำบัด ^yวิจัย
|
650 0 โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์^xวิจัย
|
999 ^aขจีนิภา เมธีวรกุลกิจ
|