LEADER 00000nam 2200000uu 4500 |
001 8473 |
003 ULIBM |
008 020711s2552 th a 000 0 tha d |
060 ว.WM171 ป533 2551-52
|
100 ปัทมา ยิ่งยมสาร
|
245 ผลการศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายด้วยแนวคิดชีวจิตสังคม/ปัทมา ยิ่งยมสาร
|
260 นครสวรรค์ :^bโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์,^c2552
|
300 54 หน้า
|
550 หลักการและเหตุผล โรคซีมเศร้าเป็นภาวะที่แสดงออกของความแปรปรวนทางอารมณ์ และมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน พบได้ในทุกช่วงชีวิต โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางชีววิทยา และปัจจัยด้านจิตสังคม ถ้าอาการและอาการแสดงรุนแรงมากขึ้น จะมีแสดงอาการอ่อนล้าจนไม่สามารถทำกิจกรรมใด มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย เป้าหมายของการดูแลให้การพยาบาล จึงจำเป็นต้องขจัดหรือลดอารมเศร้า และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ได้เลือกใช้รูปแบบชีวจิตสังคม ที่เน้นในเรื่องความสามารถของการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวอยู่ในสังคม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบทางด้านร่างกาย องค์ประกอบด้านจิตใจ และองค์ประกอบทางด้านสังคม องค์ประกอบที่ใช้ในการทำกิจกรรมประกอบด้วย ให้การปรึกษารายบุคคลแบบครอบครัว และการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
|
550 ัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้วยแนวคิดชีวจิตสังคม
|
550 2. เพื่อให้ลดอัตราการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าของโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
|
550 ลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับอารมณ์ซึมเศร้า (กลุ่มการวินิจฉัย F30) และมีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงพฤษภาคม 2552 ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่สมัครใจและให้ความยินยอมให้การเยี่ยมบ้านหรือโทรศัพท์ จำนวน 6 คน
|
550 ิธีการศึกษา เป็นการศึกษารายกรณีเพื่อจะได้ติดตามผลการช่วยเหลือแบบชีวจิตสังคม ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล คือแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตรวมกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากแบบบันทึกการปรึกษาแฟ้มประวัติการรักษาของผู้ป่วย
|
550 ลการศึกษา พบว่าจากการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายแนวคิดชีวจิตสังคม ด้วยกระบวนการการปรึกษาที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง พบว่าผู้ป่วย จำนวน 6 คน มีภาวะซึมเศร้าลดลง ดังนี้ผู้ป่วยรายที่ 1 เดิม 13 ข้อ เหลือ 1 ข้อ ผู้ป่วยรายที่ 3 เดิม 14 ข้อเหลือ 5 ข้อ ผู้ป่วยรายที่ 5 เดิม 15 ข้อ เหลือ 2 ข้อ ผู้ป่วยรายที่ 6 เดิม 15 ข้อ เหลือ 8 ข้อ และไม่พบภาวะซึมเศร้าจำนวน 2 คน และผู้ป่วยทั้ง 6 คนไม่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เมื่อทำการสัมภาษณ์ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเจ็บป่วยของตนเอง ผู้ป่วย 6 คน และสามารถทำการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายของตัวเอง และร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างได้ มีการปรับตัวกับสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและตัดสินใจ เหลือกแนวทางการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม
|
550 รุปและข้อเสนอแนะ การช่วยเหลือผู้ป่วยดังกล่าวจะให้ได้ประสิทธิภาพ ควบประกอบด้วยผู้ช่วยเหลือที่มีความตั้งใจสูง มีจิตใจเมตตาต่อผู้ป่วย ตัวผู้ป่วยต้องมีแรงจูงใจในการดูแลตนเองและครอบครัวให้ความร่วมมือและควรมีการศึกษาขยายผลเพิ่มเติมต่อไป เพื่อให้มีแนวทางในการป้องกันการเกิดพฤติกรรมการฆ่าตัวตายได้
|
650 การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ^xวิจัย
|
650 แนวคิดชีวจิตสังคม ^xวิจัย
|
999 ^aขจีนิภา เมธีวรกุลกิจ
|