LEADER 00000nam 2200000uu 4500 |
001 8466 |
003 ULIBM |
008 020711s2546 th a 000 0 tha d |
060 ว.WM175 จ482 2546
|
100 จินตนา ปรัชญาสันติ
|
245 การศึกษาความชุกของการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา / จินตนา ปรัชญาสันติ
|
260 กรุงเทพฯ :^bสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา,^c2546
|
300 28 หน้า
|
550 ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกในการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และหาสหสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนีมวลกาย (body mass index) กับเส้นรอบเอว (waist circumference) ในผู้ป่วยชายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร หรือเส้นรอบเอวในผู้ป่วยหญิงที่มากกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร การศึกษานี้เป็นการศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional study) โดยสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยในตามเขตสถานที่ (cluster sampling) ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2546 โดยผู้ป่วยทั้งหมด 226 คน เป็นเพศชาย 119 (ร้อยละ 52.7) และเพศหญิง 107 คน(ร้อยละ 47.3) มีอายุระหว่าง16-17 ปี อายุเฉลี่ย 36.91±11.02 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) ร้อยละ 70.4 สำหรับความชุกในการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาพบร้อยละ 28.32 โดยผู้ป่วยชายและหญิงมีความชุกในการเกิดภาวะอ้วนร้อยละ 19.33 และ 38.32 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษานี้กับข้อมูลความชุกของการเกิดภาวะอ้วนในประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไปของกรมอนามัยปี พ.ศ. 2538 พบว่าความชุกในการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยหญิงในการศึกษานี้มีสัดส่วนที่สูงกว่าประชากรทั่วไปหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทพบว่ามีภาวะอ้วน 45 คนจากผู้ป่วยโรคนี้ 159 คน คิดเป็นร้อยละ 28.30 ส่วนสหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายกับเส้นรอบเอวในผู้ป่วยชายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) โดยมีค่า r2 เท่ากับ 0.65 และสหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายกับเส้นรอบเอวในผู้ป่วยหญิงที่มาก กว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) โดยมีค่า r2 เท่ากับ 0.70
|
550 จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าความชุกในการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชายและผู้ป่วยโรคจิตเภทซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยามีความชุกในการเกิดภาวะอ้วนร้อยละ 28.30 จึงควรมีการให้การบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภาวะอ้วนและโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เกิดเนื่องจากภาวะอ้วน
|
650 ภาวะอ้วน^xวิจัย
|
650 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ^xวิจัย
|
999 ^aขจีนิภา เมธีวรกุลกิจ
|