ห้องสมุดสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
112 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน กรุงเทพฯ 10600
เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English

 
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Brief Record : Get Marc (ISO 2709) : E-mail record : QR code ปิดหน้าต่าง
E-books : เกี่ยวกับ Collections
LEADER 00000nam 2200000uu 4500
001    10351
003     ULIBM
008    020711s2549 th a 000 0 tha d
060    ว.WT155 ย544 2549
100    เยาวภา ยงดีมิตรภาพ
245    การติดตามผลการจัดกลุ่มให้การศึกษาต่อผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์/เยาวภา ยงดีมิตรภาพ
260    กรุงเทพฯ :^bสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา,^c2549
300    143 หน้า
550     การวิจัยเรื่อง การติดตามผลการจัดกลุ่มให้การศึกษาต่อผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการจัดกลุ่มให้การศึกษาที่มีต่อผู้ดูแลในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ตลอดจนผลกระทบของการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มให้การศึกษา และกลุ่มควบคุมที่ได้รับคำแนะนำทั่วไปและคู่มือเกี่ยวกับโรคและการดูแลนอกจากนี้ยังศึกษาแหล่งสนับสนุนทางสังคมและผู้ดูแล ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดอับไซเมอร์ที่มารับการรักษา และเข้าร่วมกิจกรรมให้การศึกษาดังกล่าวที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ปี 2546 ดำเนินการคัดเลือกตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และสุ่มเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 3 คน ในจำนวนนี้เลือกกลุ่มละ 1 คน เพื่อศึกษาสมาชิกในครอบครัวด้วย ได้ตัวอย่างกลุ่มทดลอง จำนวน 7 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัว รวมถึงแบบสัมภาษณ์เพื่อติดตามผลสำหรับผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัว ผลวิจัยพบว่า
550   ู้ป่วยและผู้ดูแลหลักทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทุกคนเป็นเพศหญิง กลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมดูแลโดยรวมดีกว่ากลุ่มควบคุมในหลายด้าน ทั้ง 2 กลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมเพียงหลักใหญ่กว้าง ๆ ทั่วไป โดยกลุ่มทดลองให้รายละเอียดชัดเจนและครอบคลุมวิธีการดูแลที่หลากหลาย มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยและการดูแลมากกว่า ในขณะที่กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคตามประสบการณ์และความคิด พูดถึงวิธีการดูแลน้อยนอกจากนี้ยังมีทัศนคติไม่ดีต่อการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามทั้ง 2 กลุ่มมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อโรคไปในแนวเดียวกัน สำหรับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลที่หลากหลายเหมาะสม รวมถึงมีความเข้าอกเข้าใจผู้ป่วยมากกว่ากลุ่มควบคุม
550   ำหรับผลกระทบด้านจิตใจ ร่างกาย และสังคมของทั้งสองกลุ่ม ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยโดยตรง ไม่มีความแตกต่างกัน คือ ผู้ดูแลจะรู้สึกตั้งแต่เหน็ดเหนื่อย หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี โมโห โกรธ เบื่อ ท้อ จนถึงเครียด รู้สึกลำบากและเป็นภาระ ในอีกด้านหนึ่งเริ่มรู้สึกเคยชินและรับได้ ส่วนผลกระทบทางด้านจิตใจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลโดยตรงกลุ่มทดลองได้รับผลกระทบมากกว่าโดยมีปัจจัยจากปัญหาเศรษฐกิจและการสนับสนุนการดูแลจากญาติที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ผู้ดูแลที่ดูแลผู้ป่วยตามลำพังเป็นส่วนใหญ่ เป็นระยะเวลายาวนาน จะมีปัญหาสุขภาพตามมา และรู้สึกขาดอิสระ และมีกิจกรรมทางสังคมลดลง กลุ่มทดลองยังได้รับผลกระทบด้านครอบครัวและเศรษฐกิจมากและรุนแรงกว่า เนื่องจากการขาดผู้สนับสนุนการดูแลทีเพียงพอ และภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย
550   ั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างได้รับการสนับสนุนการดูแลจากสมาชิกในครอบครัวญาติที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกัน และเพื่อนบ้านมากน้อยแตกต่างกันไป โดยกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจมากกับการสนับสนุนที่ได้รับญาติที่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมส่วนหนึ่งไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่พึงพอใจกับการสนับสนุนของเพื่อนบ้าน สำหรับศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ผู้นำชุมชน และสมาคม ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย แทบจะไม่มีส่วนในการสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย
550   รุปกลุ่มให้การศึกษาสามารถช่วยให้ผู้ดูแลมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยและการดูแลและมีพฤติกรรมการดูแลที่เหมาะสมในระดับหนึ่ง ส่วนผลกระทบทางด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจมีปัจจัยประกอบหลายอย่างนอกเหนือจากปัจจัยด้านความเจ็บป่วย ซึ่งกลุ่มให้การศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเหลือได้
550   ้อเสนอแนะควรมีการจัดกิจกรรมกลุ่มให้การศึกาาแก่ผู้ดูแล การให้ความรู้ที่ตรงกับปัญหาใรแต่ละระยะของโรคหรือการติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ดูแลซึ่งรวมถึงการจัดให้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและสนับสนุนทางด้านจิตใจต่อกัน การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายทางสังคมในการสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยในชุมชน นอกจากนี้ควรมีบริการสนับสนุนการดูแลด้านต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนที่พร้อมสำหรับผู้ดูแลตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชนซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
650    ผู้ป่วยสมองเสื่อม^xวิจัย
650    การจัดกลุ่มให้การศึกษา^xวิจัย
999    ^aขจีนิภา เมธีวรกุลกิจ
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. วิจัย
วิจัย
ว.WT155 ย544 2549 c.1 
  Barcode: Re000427
ห้องสมุดสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
►วิจัย
On Shelf
   [แสดง 1/1 รายการ]

รายการใกล้เคียง
    ชื่อเรื่อง [การติดตามผลการจัดกลุ่มให้การศึกษาต่อผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์/เยาวภา ยงดีมิตรภาพ]

    ผู้แต่ง [เยาวภา ยงดีมิตรภาพ]

    หัวเรื่อง [ผู้ป่วยสมองเสื่อม วิจัย]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: การติดตามผลการจัด..
Bib 10351


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.