LEADER 00000nam 2200000uu 4500 |
001 14085 |
003 ULIBM |
008 181112s||||||||th 000 0 tha d |
060 4 ^aวพ WM420.5.P5 2560
|
099 2 ^aวิทยานิพนธ์
|
100 0 ^aสุวลักษ์ ภูอาษา,^eผู้แต่ง
|
245 10 ^aผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย /^cสุวลักษ์ ภูอาษา = THE EFFECT OF A BRIEF INTERVENTION PROGRAMON SUICIDAL IDEATION IN SUICIDAL ATTEMTER /
|
246 31 ^aTHE EFFECT OF A BRIEF INTERVENTION PROGRAM ON SUICIDALIDEATION IN SUICIDAL ATTEMTER
|
502 ^aวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
|
520 ^aการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1)ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นในระยะก่อนและหลังการทดลอง 2)ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในระยะหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเข้ารับการรักษาณ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดตราดซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 30 คนได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องอายุและเพศและถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)โปรแกรมการบำบัดแบบสั้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2)แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai version 2014)และ 3) แบบประเมินความหวังของ Herth (1998) เครื่องมือชุดที่ 1 และ3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนเครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ0.81 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าทีกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
|
520 ^aThis study is a quasi-experimental two group pretest-posttest design. The objectives were to compare: 1)suicide ideation of suicidal attempter who received abrief intervention program measured at the end of theintervention, and 2) suicide ideation of suicidalattempters who received a brief intervention program andthose who received regular nursing care measured at theend of the intervention. The samples of 30 suicidalattempters with suicide ideation who met the inclusioncriteria were recruited from in-patient department, publichospital of Trat province. The samples were matched-pairswith age and sex then randomly assigned into eitherexperimental or control group, 15 subjects in each group.The experimental group received a brief interventionprogram, whereas the control group received the regularnursing care. The research instruments consisted of: 1) abrief intervention program developed by researcher, 2) theSSI-Thai version 2014, and 3) the Herth Hope Index version1998 . The 1st and 3rd instruments were validated forcontent validity by 5 professional experts. The Cornbach’sAlpha coefficient reliability of the 2nd and 3rdinstruments was as of 0.81 and 0.80, respectively. The t-test was used in data analysis. The findings of thisresearch were as follows: 1. the mean score of suicidalideation of suicidal attempter who received a briefintervention program measured at the end of theintervention was significantly lower than that before at p.05; 2. the mean score of suicidal ideation of suicidalattempter who received a brief intervention programmeasured at the end of the intervention was significantlylower than those who received the regular nursing care atp .05
|
700 0 ^aเพ็ญพักตร์ อุทิศ,^eที่ปรึกษา
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.^bคณะพยาบาลศาสตร์
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.^bสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
|
856 4 ^a^zวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)^uhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59532
|
999 ^aฐิติญา จันทพรม
|