เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : E-mail record : QR code ปิดหน้าต่าง
E-books : เกี่ยวกับ Collections
 ผู้แต่ง  พิกุลทอง กัลยา, ผู้แต่ง
 ชื่อเรื่อง 
ผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น
 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง  THE EFFECT OF AGGRESSIVE BEHAVIOR MANAGEMENT PROGRAM INCHILDREN WITH ATTENTION - DEFICIT HYPERACTIVITY DISORDER
 เลขเรียก  วพ WM425.5.A9 พ631ผ 2559
 หมายเหตุ  วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
 หมายเหตุ  Summary: การวิจัยนี้ได้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวและเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-12 ปีและผู้ปกครองที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันราชานุกูลซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่ (matched pair)และคัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 20 คนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น 3)โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าว 4)คู่มือการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวที่บ้านสำหรับผู้ดูแลหลัก 5)แบบวัดความสามารถการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้นของผู้ดูแลหลักเครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเท่ากับ .88วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นหลังได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่าการใช้โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวส่งผลทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้นลดลงและส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีสามารถแสดงออกทางสังคมได้ดีขึ้น จึงควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับเด็กสมาธิสั้น
 หัวเรื่อง  โรคสมาธิสั้น--วิจัย
 หัวเรื่อง  เด็กสมาธิสั้น
 ผู้แต่งร่วม  จินตนา ยูนิพันธุ์, ที่ปรึกษา
 ผู้แต่งนิติบุคคล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
 ผู้แต่งนิติบุคคล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
 เชื่อมโยง  วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
5655
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. วิจัย/วิทยานิพนธ์/กรณีศึกษา
วิจัย/วิทยานิพนธ์/กรณีศึกษา
วพ WM425.5.A9 พ631ผ 2559 c.1 
  Barcode: 024643
วิจัย On Shelf
Note:อภินันทนาการ
   [แสดง 1/1 รายการ]

รายการใกล้เคียง
    หัวเรื่อง [เด็กสมาธิสั้น]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: ผลของโปรแกรมการจ..
Bib 13594

 
 
 

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.