ผู้แต่ง |
ขัตติยา ยืนยง, ผู้แต่ง |
ชื่อเรื่อง |
ผลของการเล่นบำบัดต่ออาการของเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-9 ปี |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
THE EFFECT OF PLAY THERAPY ON SYMPTOMS OF ATTENTIONDEFICIT HYPERACTIVITY DISORDER IN CHILDREN AGED 6-9 YEARS |
เลขเรียก |
วพ WS350.2 ข312ผ 2559 |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
หมายเหตุ |
Summary: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์1)เพื่อเปรียบเทียบอาการของเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-9 ปีก่อนและหลังได้รับการเล่นบำบัด2)เพื่อเปรียบเทียบอาการของเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-9 ปีระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเล่นบำบัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กสมาธิสั้นอายุระหว่าง 6-9 ปีที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 40 คน จับคู่อายุและเพศแล้วจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คนโดยกลุ่มทดลองได้รับการเล่นบำบัดที่มีการจัดลำดับจากง่ายไปยากโดยผู้ดูแลหลักมีส่วนร่วม เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กสมาธิสั้น2)แบบสอบถามอาการของเด็กสมาธิสั้น(SNAP-IV)(สำหรับผู้ปกครอง)3)คู่มือการเล่นบำบัดสำหรับพยาบาล4)แบบประเมินความสามารถการเล่นบำบัดเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6ท่านค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามอาการของเด็กสมาธิสั้น และแบบประเมินความสามารถการเล่นบำบัด เท่ากับ.888 และ .928ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยอาการของเด็กสมาธิสั้นกลุ่มทดลองหลังได้รับการเล่นบำบัดลดลงต่ำกว่าก่อนได้รับการเล่นบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2.คะแนนเฉลี่ยอาการของเด็กสมาธิสั้นกลุ่มทดลองหลังได้รับการเล่นบำบัดลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
ผู้แต่งร่วม |
จินตนา ยูนิพันธุ์, ที่ปรึกษา |
ผู้แต่งนิติบุคคล |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ผู้แต่งนิติบุคคล |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
เชื่อมโยง |
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) |