LEADER 00000nam 2200000uu 4500 |
001 13643 |
003 ULIBM |
008 171204s||||||||th 000 0 tha d |
099 2 ^aวพ WM193.5.ศ458ผ
|
100 0 ^aศิรินันท์ ลี้ทองคำ
|
245 10 ^aผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบ / ศิรินันท์ ลี้ทองคำ
|
246 31 ^aTHE EFFECT OF NEGATIVE SYMPTOMS SELF- MANAGEMENT PROGRAMON FUNCTIONING OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS WITH NEGATIVESYMPTOMS
|
502 ^aวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
|
520 ^aการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเอง 2)เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คนได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนิน 7 กิจกรรมเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะในเรื่อง การจัดการตนเอง อาการทางลบการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันการจัดการอาการทางลบโดยการจัดการทางความคิด การใช้ยาการจัดการกับอารมณ์ การติดต่อสื่อสาร และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรในชุมชนส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)โปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเอง 2) แบบวัดทักษะชีวิต และ 3)แบบประเมินอาการทางจิตโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย เฉพาะอาการทางลบซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านโดยแบบวัดทักษะชีวิตและแบบประเมินอาการทางจิตเภทฉบับภาษาไทยเฉพาะอาการทางลบ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ0.94 และ 0.90 ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|
650 4 ^aโรคจิตเภท^xผู้ป่วย^xการดูแล^xวิจัย
|
700 0 ^aเพ็ญพักตร์ อุทิศ,^eที่ปรึกษา
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.^bคณะพยาบาลศาสตร์
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.^bสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
|
856 4 ^a^zวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)^uhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51214
|
999 ^aฐิติญา จันทพรม
|