เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : E-mail record : QR code ปิดหน้าต่าง
E-books : เกี่ยวกับ Collections
 ผู้แต่ง  ศิริพรรณ ธนันชัย, ผู้แต่ง
 ชื่อเรื่อง 
ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท
 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง  SELECTED FACTORS RELATED TO VIOLENT BEHAVIOR IN COMMUNITYOF SCHIZOPHRENIC PATIENTS
 เลขเรียก  วพ WM203 ศ464ป 2559
 หมายเหตุ  วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
 หมายเหตุ  Summary: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาลักษณะและระดับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม ประวัติการเกิดพฤติกรรมรุนแรงประวัติการใช้สารเสพติด อาการทางบวก อาการทางลบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษากับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โรงพยาบาลสวนปรุงและโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จำนวน 105 คนได้จากการสุ่มตัวอย่างง่ายตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)เครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช MINI InternationalNeuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) ฉบับภาษาไทย 3)แบบวัดกลุ่มอาการทางบวกของโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย 4)แบบวัดกลุ่มอาการทางลบของโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย 5)แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา 6)แบบประเมินความรุนแรงในชุมชน (MacArthur Community ViolenceInstrument : MCVI)เครื่องมือทุกชุดผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5ท่าน และตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยสูตร Cronbach’s alphaได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .094, 0.88 , 0.94 ,0.93 และ0.91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ตารางการณ์จรและค่าสหสัมพันธ์พอยไบซีเรียล ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้พฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภทมีลักษณะเป็นการกระทำต่อผู้อื่นและสิ่งของ เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.8ส่วนลักษณะของพฤติกรรมรุนแรงที่ผู้ป่วยถูกกระทำ พบเพียงร้อย 1และระดับของพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภทมีระดับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 42.9 รองลงมา คือ พฤติกรรมขู่บังคับทางกายร้อยละ28.6 และพฤติกรรมรุนแรงระดับร้ายแรง ร้อยละ 11.4 ตามลำดับบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม ประวัติการใช้สารเสพติดประวัติการเกิดพฤติกรรมรุนแรง อาการทางบวกและพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน(C=.344, .544, .655 และ rpb = .181,.046 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท(rpb = -232) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ เพศ และอาการทางลบไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท
 หัวเรื่อง  โรคจิตเภท--ผู้ป่วย--การดูแล--วิจัย
 หัวเรื่อง  โรคจิตเภท--การป้องกันและควบคุม--วิจัย
 ผู้แต่งร่วม  จินตนา ยูนิพันธุ์, ที่ปรึกษา
 ผู้แต่งนิติบุคคล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
 ผู้แต่งนิติบุคคล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
 เชื่อมโยง  วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
5655
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. วิจัย/วิทยานิพนธ์/กรณีศึกษา
วิจัย/วิทยานิพนธ์/กรณีศึกษา
วพ WM203 ศ464ป 2559 c.1 
  Barcode: 024636
วิจัย On Shelf
Note:อภินันทนาการ
   [แสดง 1/1 รายการ]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: ปัจจัยคัดสรรที่ม..
Bib 13601

 
 
 

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.